วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ปล่อยตัวจากงาน...เสาะหาบ้านในฝัน

       แอ่นแอ๊น!!!!!มาแล้วเจอซะที...บ้านหลังที่สาม สุดท้ายก็มาสะดุดกะโครงการศุภาลัย ได้ยินชื่อเค้ามาน๊านนานนนนน...ลุ้นอยู่ว่า ใจด้านซ้ายหรือขวาจะชนะกันแน่ โครงการนี้ห่างจากบ้านเดิมประมาณ 200-300 เมตรเองนะ ตรงกะใจด้านขวาที่เรารอคอย มิใช่เหรอ อีกใจด้านซ้ายก็คิดแบบคนไม่อยากมีหนี้ (คนมันไม่เคยมีหนี้นี่นะ) เคยกิน เคยใช้เงินแบบไม่ต้องแบ่งให้ธนาคาร ใช้เงินแบบไม่ต้องวางแผนมานานร่วม 50 ปี  คิดดูนะต้องทำใจขนาดไหนถึงตัดสินใจพาคุณสามีเข้าเยี่ยมชมโครงการ และบ้านตัวอย่าง

   โห!!!คนจองกันเพียบจนเหลือบ้านหลังท้ายๆของโครงการ ตายๆๆๆๆอยู่ใกล้ซะป่าว คุยกะเซลล์ขายบ้าน คุยไปคุยมา คุณสามีผู้เอาใจภรรยาก็คิดคำนวณถึงแผนการบริหารเงิน คิดไปคิดมาสุดท้ายก็ตกลงจองกันวันนั้นเลย ได้แปลงบ้านเลขที่ 99  (ซึ่งต่อไปจะเป็นบ้านเลขที่ 88/99) ป๊าปแล้วสิ...ใจด้านขวาชนะขาดลอย  ได้เป็นหนี้สมใจ ก็อยากมีบ้านใหม่และใหญ่กว่าเดิมนี่ วางแผนผ่อนนานเอาแค่ 10 ปีก็พอ สงสารคุณสามีที่ต้องทำงานหนักรับภาระผ่อนให้ เนื่องจากตัวเราลาออกจากงานที่โรงพยาบาลโดยขอรับบำนาญรายเดือนแทน เพราะวางแผนไว้ว่าจะทำงานแค่ระยะ 25-26 ปี เพียงพอแล้ว ณ.เวลานั้นลูกสาว 2 คนก็เรียนจบเข้าทำงานแล้วด้วยเหมือนกัน หมดภาระไปเปลาะหนึ่งแล้ว ขอใช้ชีวิตยามว่างที่เหลือเพื่อดูแลครอบครัวและคนที่เรารักดีกว่า อีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นเหตุให้ลาออกก็เพื่อจะมาดูแลสุขภาพตัวเองบ้าง




   รู้กันอยู่ว่าทุกสาขาอาชีพก็ต่างมีความเครียด  แต่ขอบอกเลยว่าถ้าลองเอามาเทียบเป็นข้อๆกับวิชาชีพพยาบาล ยังห่างไกลกันมากอิสระภาพด้านเวลาเป็นสิ่งสำคัญของครอบครัว    ถ้าถูกริดรอนลงเรื่อยๆด้วยภาระงาน ด้วยคำว่าบทบาทความรับผิดชอบ บทบาททั้งด้านบริหาร บริการ ซึ่งบอกเลยว่าในวิชาชีพนี้จำเป็นต้องทำควบคู่กันไป ทิ้งอันไหนไม่ได้เลย และช่วงก่อนที่จะนับถอยหลังวันลาออก 10 ปี ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบงานอีกโดยทางฝ่ายพยาบาลได้จัดให้มีการหมุนเวียนพยาบาลระดับผู้ช่วยหัวหน้าหอ จัดให้หมุนเวียนในสาขาของตัวเอง ซึ่งในสาขาที่เราทำงานอยู่ คนไข้ก็แตกต่างกันมากเพราะมีทั้งเด็กโตและเด็กทารกที่เพิ่งคลอด   ที่สุดของความแตกต่างก็คือทารกวิกฤต เกิดก่อนกำหนดที่น้ำหนักน้อยมากๆน้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม แถมยังใช้เครื่องช่วยหายใจอีก วิกฤตจริงๆ บอกได้เลยเครียดจริงๆ จบมาก็อยู่ดูแลเด็กโต พูดคุยกันได้ เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้างก็ตามสถานะการเจ็บป่วยของเค้า เวลาเค้าหายป่วย อาการดีขึ้นเราก็มีความสุข พูดคุย เล่นกันได้ยามอาการไข้หายไป การให้แบบนี้มีการตอบกลับจากผู้รับ(ผู้ป่วยและครอบครัว) ทำให้เราคลายความเครียดไปได้บ้างแม้บางครั้งงานจะยุ่งมากๆจนไม่มีเวลาทานข้าวก็ตาม แต่ยังมีความเข้าใจและคำที่แสดงถึงความห่วงใยจากครอบครัวของคนไข้ สิ่งนี้ล่ะที่ทำให้เราหายเหนื่อย มีความตั้งใจในการทำงานต่อไป อ้อ!อีกสิ่งหนึ่งของความไม่เหมือน เรื่องภาวะของโรคจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง สิ่งนี้ทำให้เราต้องลุยหาความรู้เพื่อนำไปใช้ในการดูแลทารกเพื่อให้เกิดการดูแลที่ดีและถูกต้องตามภาวะโรคของเค้า ต้องเข้ารับการอบรมเฉพาะทาง และที่สุดโหดต้องรับหน้าที่ด้านบริหารภายในหอตามที่ฝ่ายการพยาบาลกำหนดไว้ด้วย 555ลองนึกภาพดูนะว่าเราต้องปรับอะไรบ้าง สถานที่ทำงานใหม่ (แคบมากถ้าเทียบกับจำนวนคนไข้ เดินแบบชนกัน ก้นชนก้น เดินไปต้องระวังไม่ให้สะดุดเสาน้ำเกลือน่ะ...ยากส์) คนร่วมงานใหม่ๆ คนไข้แบบใหม่ๆ แบบเพิ่งออกมาจากท้องแม่เลยนะ และเบบี๋บางรายก็รีบออกมาก่อนกำหนดอีก ดูนะแค่นี้ก็ทำเอาเครียดแล้ว ยากจะบรรยายออกมาเป็นคำพูด แต่ยังไม่หมดนะ อิอิอิ เดือนที่ย้ายจำได้ไม่ลืมเลือน ม.ค.2545 ย้ายไปได้สักพัก ยังไม่ทันจะได้ปรับตัวเข้ากับสภาวะแวดล้อมเลย กะผู้ร่วมงาน กะคนไข้ตัวน้อยนิด นั่นไม่ต้องพูดถึงเลย เดากันเอาเองนะ เช้าวันที่ 7 ก.พ.2545  วันทำงานเราก็ต้องไปนอนเตรียมคลอด เพราะเริ่มมีมูกเลือดออกมา สรุปก็คลอดในตอนเย็นวันนั้นล่ะ คลอดก่อนถึงวันที่กำหนด 1 สัปดาห์ ลูกแข็งแรงดีนะ ทำหมันเลย ครบ 3 ใบเถาแล้วนี่ ต่อไปก็เข้าสู่ช่วงลาคลอดไปเลี้ยงลูกน้อยจนครบ 3 เดือน จึงกลับมาลุยงานต่อ หนักหนาสาหัสเอาการอยู่นะ ปรับกันหลายเดือนเชียวล่ะ เหนื่อยแน่ล่ะ...เครียดแน่นอน แม่ลูกอ่อนต้องเลี้ยงลูกกันเอง ช่วงเช้าคุณสามีรับเลี้ยง เอาไปเลี้ยงที่ร้านขายของเกษตร(ลืมบอกไปว่าช่วงปี40ฟองสบู่แตก สามีออกจากงานมาเปิดร้านขายของด้านเกษตร) เย็นค่ำกลับมาจากร้าน  เราเลิกงานก็รับต่อ หมุนเวียนกันไปแบบนี้ เหนื่อยจากงานกลับบ้านมาเจอหน้าลูก บอกได้เลยนะว่าหายเหนื่อย ดีใจที่ได้มีโอกาสเลี้ยงลูกคนนี้เอง ไม่ต้องไปจ้างเค้าเลี้ยงเหมือนพี่ๆเค้า  ทำให้เราเห็นความเปลี่ยนแปลงของลูกตลอดเวลา มีความสุขยามได้หยุดอยู่บ้าน วันหยุด 1 วันหรือ2 วันจึงเป็นวันที่มีค่ามากมายสำหรับวิชาชีพนี้ 



  
      หลังจากทำงานกับเบบี๋ตัวน้อยนิดมาได้ซัก 4-5 ปี สะสมความรู้ ความชำนาญมาได้บ้าง เราต้องรับหน้าที่บริหารงานแทนหัวหน้าหอ ซึ่งพี่เค้าขอลาไปเรียนต่อปริญญาเอกร่วม 4 ปี แม้จะมีผู้ช่วยให้คำปรึกษาในสาขา คอยให้คำแนะนำ ช่วยบริหารงานบางส่วน แต่เราก็ต้องรับผิดชอบทำงานด้านบริหาร พร้อมกับงานดูแลทารกไปด้วยกัน งานเข้ามากมาย อาทิ งานเอกสารต่างๆ งานบริหารด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เอาเป็นว่างานที่หัวหน้าหอต้องรับผิดชอบนั่นล่ะเป็นงานของเราไปแล้ว งานคนไข้ก็ต้องทำ งานบริหาร อัตรากำลังคนทำงานทั้งพยาบาล ผู้ช่วยเหลือและคนงานทำความสะอาด  บางอย่างมอบหมายคนรับผิดชอบแต่ก็ต้องช่วยตรวจสอบ เฮ้อ!!!งานดูคนไข้ เหนื่อยหนักหนา เสร็จเป็นวันๆไป งานเอกสารด้านคุณภาพอีก  บางครั้งต้องหอบไปทำที่บ้าน ข้าวมื้อเย็นจะได้กินก็ช่วงละครหลังข่าว  นอนดึกเกือบทุกคืน  นั่งทำงาน เปิดทีวีเอาเสียงเป็นเพื่อน ส่วนออกกำลังกายไม่ต้องพูดถึง แค่เดิน ยืนในที่ทำงานถ้านับระยะทางก็หลายกิโลนะ กลับบ้านมาขาแทบหลุด ล้าซะไม่มี คนในครอบครัว ไม่ต้องพูดถึง ลูกๆ เช้าส่งโรงเรียน เกือบค่ำมาเจอกัน สามีกะลูกๆช่วยเหลือตัวเองกันได้ดี...จนมันเป็นวงจรชีวิตแบบปกติไปแล้ว   แต่อย่าลืมนะว่าร่างกายเราเองนั่นล่ะที่จะรับไม่ไหว ใจไม่สู้แล้วกายก็ไม่เอาแล้ว พอๆๆกับหัวโขน  สุดๆไปเลย ที่ยังต้องอดทนเพราะคิดว่าได้ทำบุญกับชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน คิดแล้วสบายใจ ภูมิใจในสิ่งที่ทำ  สุดท้ายก็ถึงวันที่เฝ้ารอ 25 ปีกว่าๆสำหรับการทุ่มเทไปกับงานพยาบาล ระหว่างนั้นก็พยายามปล่อยวางสิ่งต่างๆ ที่เราคิดว่าน่าจะต้องทำให้ดีกว่านี้ออกไปทีละนิดทีละน้อย เพื่อจะช่วยลดความเครียดจากงานที่รับผิดชอบ  อ้าวระบายเรื่องงานไปซะมากมาย  มาเข้าเรื่องบ้านกันต่อในคราวหน้าดีกว่า รอติดตามกันนะ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การไหว้แม่ย่านางรถ

อย่างที่รู้กันว่าความเชื่อของคนไทยเมื่อไรที่ออกรถมาใหม่ไม่ว่าจะเป็นมือหนึ่งหรือรถมือสองก็จะเคารพนับถือและบูชาแม่ย่านางรถซึ่งเป็นสิ่งศ...

บทความน่าสนใจ