วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เดินตามรอยพ่อ...มีอย่างเพียงพอ สุขอย่างพอเพียง



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้คนไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2517 ดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ความว่า

"…การพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อพื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยประเทศหลายประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอยู่ในเวลานี้..."

"เศรษฐกิจพอเพียง" ไม่จำเป็นต้องต่อต้านกระแสโลกาภิวัตน์หรือสิ่งทันสมัยต่างๆ ทุกคนในสังคมสามารถนำไปใช้ได้ แต่มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการใช้จ่ายอย่างขี้เหนียว การห้ามเป็นหนี้ การยอมรับสภาพ หรือการไม่ขวนขวายทำสิ่งใด ความหมายที่ลึกซึ้งของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การคำนึงถึงความพอประมาณ คือ ให้ทำอะไรด้วยความพอดี ไม่มาก หรือน้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ดำเนินชีวิตให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง เปรียบเสมือนการสร้างเสาเข็ม สร้างฐานให้แข็งแรงมั่นคง ไม่ว่าพายุใดๆ เข้ามา หรือจะต่อเติมสร้างเพิ่มในภายหลัง บ้านก็จะยังคงยืนหยัดอยู่ได้

ชีวิตไม่ต้องมีมากจนเกินตัว เดินตามรอยพ่อ แค่มีอย่างพอเพียง ก็จะสุขอย่างเพียงพอ




ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


"เศรษฐกิจพอเพียง"

...เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับครอบครัว...ระดับชุมชน...จนถึง ระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะ "การพัฒนาเศรษฐกิจ" เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

ความพอเพียง หมายถึง...

ความพอประมาณ...ความมีเหตุผล...รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร  ทั้งนี้จะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน
และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ

โดยเฉพาะ "เจ้าหน้าที่" ของ "รัฐ"...
ให้มี "สำนึก" ใน "คุณธรรม" "ความซื่อสัตย์สุจริต" และ
ให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม...
ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา
และความรอบคอบเพื่อให้สมดุล...
และพร้อมต่อการรองรับ "การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว"

เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่  ตามแนวพระราชดำริ

"เศรษฐกิจพอเพียง" และ "แนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่"
เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถใน "การพึ่งตนเอง"
ในระดับต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลด "ความเสี่ยง" เกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติหรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆ
โดยอาศัย "ความพอประมาณ" และ "ความมีเหตุผล"
การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี...มีความรู้...ความเพียรและความอดทน...
สติและปัญญา...การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี

ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ...
อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ ๒ แบบ คือ
"แบบพื้นฐาน" กับ "แบบก้าวหน้า" ได้ดังนี้

"ความพอเพียงในระดับบุคคล และครอบครัว" โดยเฉพาะ
"เกษตรกร" มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกล "แหล่งน้ำ"
ต้องพึ่งน้ำฝน และประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง
แม้กระทั่ง...สำหรับ "การปลูกข้าวเพื่อบริโภค"
และมีข้อสมมติว่า...มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อ
เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าว จะทำให้เกษตรกรสามารถมี "ข้าว"
เพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่นๆ
สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว...
รวมทั้ง "ขายในส่วนที่เหลือ" เพื่อมี "รายได้" ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัว
ให้เกิดขึ้นในระดับ "ครอบครัว"

"ความพอเพียงในระดับชุมชน และระดับองค์กร"
เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๒
เป็นเรื่องของ "การสนับสนุน" ให้เกษตรกร "รวมพลัง" กันในรูป "กลุ่ม หรือสหกรณ์"
หรือ การที่ธุรกิจต่างๆ รวมตัวกันในลักษณะ "เครือข่ายวิสาหกิจ"
กล่าวคือ...เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัว หรือองค์กรต่างๆ
มี "ความพอเพียงขั้นพื้นฐาน" เป็นเบื้องต้นแล้ว
ก็จะรวมกลุ่มกัน เพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์
ให้แก่กลุ่ม และส่วนรวมบนพื้นฐานของ "การไม่เบียดเบียนกัน"
การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามกำลังและความสามารถของตน
ซึ่งจะสามารถทำให้ชุมชนโดยรวม หรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้นๆ

เกิด "ความพอเพียงในวิถีปฏิบัติ" อย่างแท้จริง

ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็น "เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า"
ซึ่งครอบคลุม "ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๓" ซึ่งส่งเสริมให้ "ชุมชน" หรือ "เครือข่ายวิสาหกิจ"
สร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น

การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้
จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอด...ภูมิปัญญา...
แลกเปลี่ยนความรู้...เทคโนโลยี...และบทเรียนจากการพัฒนา
หรือร่วมมือกันพัฒนา...ตามแนวทาง "เศรษฐกิจพอเพียง"
ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่ อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และ
ธุรกิจต่างๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง
กลายเป็น "เครือข่ายชุมชนพอเพียง"
ที่เชื่อมโยงกัน...ด้วยหลัก "ไม่เบียดเบียน"

"แบ่งปัน" และ "ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน" ได้ในที่สุด.

ขอขอบพระคุณ: มูลินิธิชัยพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การไหว้แม่ย่านางรถ

อย่างที่รู้กันว่าความเชื่อของคนไทยเมื่อไรที่ออกรถมาใหม่ไม่ว่าจะเป็นมือหนึ่งหรือรถมือสองก็จะเคารพนับถือและบูชาแม่ย่านางรถซึ่งเป็นสิ่งศ...

บทความน่าสนใจ