เดฟกระเป๋าเป็นพืชที่นิยมปลูกกันมาก โดยเฉพาะเพื่อการตกแต่ง ลักษณะของเดฟกระเป๋าเป็นพืชไม้เลื้อยจำพวกรากอากาศ จึงได้รับความนิยมนำมาแขวนตกแต่งระเบียงร่วมกับพืชชนิดอื่น เห็นเป็นพืชขนาดเล็กอย่างนี้แต่ต้นเดฟกระเป๋าก็มีดอกให้เจ้าของได้เชยชมด้วยนะคะ ซึ่งดอกของเดฟกระเป๋าจะเป็นดอกตูมขนาดเล็กสีแดงอมชมพูขนาดน่ารักกระจุ๋มกระจิ๋ม ซึ่งหากเลี้ยงดี ๆ ต้นเดฟก็จะออกดอกให้เชยชมกันได้ตลอดทั้งปี
เดฟกระเป๋า หรือ Ant Plant ชื่อวิทยาศาสตร์: Dischidia Pectenoides Pear วงศ์: ASCLEPIACEAE เป็นพืชอิงอาศัยขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลำต้นเลื้อยพัน มีรากออกตามข้อ ลักษณะพิเศษของต้นนี้ คือมีกระเปาะเหมือนกระเป๋าพองๆ เป็นรูปรีๆ สีเขียวคล้ายเปลือกหอย ข้างในกระเปาะเป็นที่อยู่ของกลุ่มราก ต้นเดฟจะมีดอกเล็กๆ น่ารักสีแดงอมชมพู ซึ่งจะบานเพียงเล็กน้อย ทำให้ดูเหมือนว่าดอกตูมตลอดเวลา กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด คล้ายกระสวย มีขนาดเล็ก ใช้ปลูกเป็นไม้แขวนประดับ เพราะรูปทรงสวยงาม สามารถปลูกและตั้งไว้ที่โต๊ะทำงานหรือในบ้าน แต่ถ้าจะโชว์ความสวยงามก็ต้องแขวนตกแต่งระเบียงหรือหน้าต่างอีกทั้งกระเปาะน้อยๆ ที่ดูเหมือนกระเป๋าก็ให้ความรู้สึกเป็นมงคล ประดุจกระเป๋าที่มีเงินทองเต็มบริบูรณ์อยู่เสมอ
การดูแล
หลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่าต้นเดฟกระเป๋าเป็นพืชแต่งคอนโดสายพันธุ์อวบน้ำ เนื่องด้วยสีและลักษณะของต้นพืชที่มีกระเปาะ แต่ความจริงแล้วต้นเดฟกระเป๋าเป็นพืชที่ชอบแสงแดดรำไร สามารถปลูกได้ทั้งในที่ร่มอย่างการแขวนประดับในตัวอาคาร ห้องน้ำ ริมหน้าต่างหรือแม้แต่การผูกติดกับต้นไม้ชนิดอื่นกลางแจ้งที่มีแดดส่อง ก็ช่วยให้มีการสังเคราะห์แสงได้ดีและมีเปอร์เซ็นต์การมีชีวิตรอดสูง หากได้รับแสงแดดบ่อยต้นเดฟกระเป๋าจะแข็งแรงสมบูรณ์และออกดอกได้ดีกว่ากว่าอยู่ในที่ร่ม
ความสุขในการใช้ชีวิตแบบพอเพียง เน้นสุขภาพ กายสุข ใจสุข ไร้โรคา แบ่งปันความรัก ความรู้ในการดูแลตัวเองและครอบครัว
วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ไม้ดอกสีขาว...พุดพิชญา
วันนี้เอาไม้ดอกสีขาวที่เราชอบมากๆมาเล่าสู่กันฟังดีกว่า เดินเสาะหายากเหมือนกัน ที่ง่ายๆไม่เอาซะด้วยสิ ที่ง่ายก็คือดอกมันเล็ก อยากได้ดอกใหญ่เบ้อเริ่มอ่ะ สุดท้ายก็ไม่เกินความพยายามของเรานะ แถมถูกอีกด้วย 3 ต้น 100 เอาขึ้นรถมารวม 6 ต้น สูงเกือบ 70 เซ็นติเมตรได้นะ เดี๋ยวมาเลี้ยงดูปูเสื่อให้มันสูงเองแล้วกัน ก็อยากได้อ่ะ
ต้นพุดพิชญา มีถิ่นกำเนิดที่ศรีลังกา เป็นดอกไม้ที่นิยมบูชาพระพุทธรูป โดยเฉพาะสักการะพระเขี้ยวแก้ว โดยจัดดอกไม้ใส่กรวยใบตอง หรือ จัดใส่พาน
พุดพิชญา เป็นไม้สกุลเดียวกับโมกเข้ามาประเทศไทยครั้งแรกโดยคุณปราณี คงพิชญานนท์ และด้วยความที่มีลักษณะของดอกสีขาวเหมือนกลุ่มดอกพุดในบ้านเราจึงได้ชื่อว่า ดอกพุด และ นำสกุลของผู้ที่นำเข้ามาต่อท้ายเพื่อเป็นเกียรติ จึงเรียกกันว่า ดอกพุดพิชญา ตั้งแต่นั้นมา
พุดพิชญา มีหลากหลายขนาด ขึ้นอยู่กับการดูแล ให้ดอกสีขาวเต็มกิ่งเป็นช่อดอก ช่อละ 5 - 10 ดอก ดอกบานทน ตั้งแต่แรกแย้มไปจนสู่บานเต็มที่ ใช้เวลา 4 - 5 วัน ดอกตูมในช่อดอกอื่นๆก็ค่อยทยอยโต และทยอยกันบาน ไปเรื่อยๆ จึงทำให้ดอกติดต้นตลอดเวลา ลักษณะดอกเป็นกลีบแยก 5 กลีบ เกสรตรงกลางสีเหลืองมีฝอยเกสรสีขาวล้อมรอบ เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ต่อมามีการนำมาผสมพันธุ์จนมีพันธุ์ที่มีดอกขนาดใหญ่ขึ้น และดอกสีขาวจัดจนดูเหมือนเรืองแสงในยามกลางคืน
พุดพิชญา มีหน้าใบเป็นสีเขียวเข้ม และหลังใบสีเขียวอ่อน ไม่ผลัดใบและเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและชอบดินที่ระบายน้ำได้ดี ชอบเเดดจัดแต่ก็สามารถนำไปปลูกในที่แดดรำไรหรือแดดครึ่งวันได้ ไม่ชอบน้ำท่วมขัง แฉะไม่ได้เลย ต้นจะเน่าและตาย ดังนั้นหากต้องการปลูกในกระถางจะต้องเป็นกระถางที่ระบายน้ำได้ดี หากลงดินก็จะเลี้ยงง่าย ปรับตัวได้ในเกือบทุกสิ่งแวดล้อมค่ะ
ตอนนี้ต้นที่บ้านสูงจนเกินกำแพงบ้านล่ะ เราพยายามจำกัดความสูงของเค้า ไม่รู้ว่าจะทำได้แค่ไหนนะ ท่านใดมีวิธี แนะนำมาได้นะคะ ครั้งหน้าจะเล่าเรื่องพุดศุภโชคให้ฟังนะคะ วันนี้ต้องบายก่อนจ้า...
วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560
การเลือกใช้ถังเก็บน้ำ
ขอบคุณภาพจาก vedengineering.com
ถังเก็บน้ำแสเตนเลส จะได้เปรียบเรื่องของความแข็งแรงทนทาน ทำความสะอาดง่าย
ส่วนถังพลาสติกหรือไฟเบอร์กลาส จะได้เปรียบเรื่องรูปร่างหน้าตา สีสันที่หลากหลายกว่า และหมดปัญหาเรื่องสนิม
แต่หากจะเลือกถังเก็บน้ำที่ทำจากวัสดุชนิดใดชนิดหนึ่ง แทบจะไม่แตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับความชอบและเงินในกระเป๋า เพราะเดี๋ยวนี้เรื่อง สนิม เรื่องพลาสติกกรอบละลายเสื่อมคุณภาพ ผู้ผลิตได้แก้ไขไปเยอะแล้ว แต่ถ้าหากจะซื้อมาเก็บน้ำฝนไว้ดื่มน่าจะเลือกแบบสเตนเลสเป็นหลัก จะหมดปัญหาเรื่องกลิ่นปนลงในน้ำไปได้ แต่ถ้าเก็บน้ำประปาสำรองไว้ควรใช้ถังพลาสติกหรือไฟเบอร์กลาสจะเหมาะกว่า
เพราะฉะนั้นการเลือกถังเก็บน้ำ เรื่องสำคัญจึงอยู่ การเลือกขนาดและการติดตั้งมากกว่า ซึ่งจากผลการสำรวจวิจัยของการประปานครหลวง ระบุว่าการใช้น้ำของแต่ละคนเฉลี่ยอยู่ที่ 200 ลิตร/วัน/คน
ดังนั้นหากจะเลือกขนาดถังสำรองน้ำไว้ใช้ควรเลือกให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในบ้าน โดยเอาจำนวนสมาชิกในบ้านคูณด้วย 200 ก็จะได้ขนาดถังเก็บน้ำที่เหมาะสมกับบ้านเรา แต่ถ้าจะให้ดีเอาตัวเลขที่ได้คูณ 2 อีกทีเผื่อฉุกเฉินน้ำไม่ไหล 2 วันติดกัน เผือเวลาที่ต้องการใช้น้ำจำนวนมาก ส่วนถังเก็บน้ำฝนให้เลือกขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พื้นที่จะอำนวย เพราะน้ำฝนต้องมีมากพอสำหรับใช้จนถึงอีก
1 ปี
อันนี้เป็นข้อมูลการเลือกขนาดความจุของถังเก็บน้ำให้เหมาะสมกับสมาชิกในครอบครัว
1.มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 5 คน ควรเลือกใช้ถังเก็บน้ำที่มีความจุประมาณ 1,000 ลิตร
2.มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 6 คน ควรเลือกใช้ถังเก็บน้ำที่มีความจุประมาณ 1,200 ลิตร
3.มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 7-8 คน ควรเลือกใช้ถังเก็บน้ำที่มีความจุประมาณ 1,600 ลิตร
4.มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 9-10 คน ควรเลือกใช้ถังเก็บน้ำที่มีความจุประมาณ 2,000 ลิตร
แบบนี้แล้วเพื่อนๆคงตัดสินใจได้แล้วนะคะว่าจะเลือกซื้อขนาดไหนที่เหมาะกับบ้านเรา ไม่อยากให้ตัดสินใจซื้อผิดเพราะก็รู้กันอยู่ว่าน้ำเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมากๆในชีวิตประจำวันของเรา ครั้งหน้าจะนำความรู้เรื่องการใช้ไฟฟ้ามาให้อ่านกันบ้างนะคะ รอติดตามกันจ้า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก nucifer.com
วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ครีมเทียมกับไขมันทรานส์
ไขมันทรานส์ (trans fat) หมายถึงวิธีการทำน้ำมันพืชชนิดไม่อิ่มตัวซึ่งเหลวๆเละๆให้กลายเป็นของแข็ง โดยใส่ไฮโดรเจนเข้าไปทำให้โมเลกุลไขมันรับเอาไฮโดรเจนเข้าไปแทนแขนจับแบบคู่ (double bond) ได้บางส่วน จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไขมันใส่ไฮโดรเจนได้บางส่วน หรือ partial hydrogenated oil - PHO แต่ไม่ได้แทนที่ได้ทั้งหมด หากใส่ไฮโดรเจนเข้าไปแทนที่แขนคู่ได้ทั้งหมดเรียกว่าไขมันใส่ไฮโดรเจนได้ทั้งหมด หรือ fully hydrogentate oil - FHO ซึ่งอย่างหลังนี้ไม่ใช่ไขมันทรานส์ และไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับไขมันทรานส์เลย ทั้งในแง่รูปสมบัติ คุณสมบัติ และต้นทุนการผลิต
ขอบคุณภาพจาก exta.co.th
คำประกาศของอย.สหรัฐฯ (FDA) ที่ออกเมื่อปีค.ศ. 2015 และจะมีผลบริบูรณ์ในปี 2018 ซึ่งสั่งห้ามใช้ไขมันทรานส์ในอาหารสำเร็จรูปทุกชนิดนั้น เป็นการห้ามใช้เฉพาะไขมันทรานส์หรือไขมันชนิดใส่ไฮโดรเจนได้บางส่วน (PHO) ไม่ได้ห้ามไขมันชนิดใส่ไฮโดรเจนได้หมด (FHO)
อย.สหรัฐ (FDA) ได้นิยามความแตกต่างระหว่างไขมันทรานส์หรือไขมันใส่ไฮโดรเจนบางส่วน (PHO) กับไขมันใส่ไฮโดเจนได้หมด (FHO) ว่าแตกต่างกันที่ตัวเลข 2% กล่าวคือในกระบวนการใส่ไฮโดรเจน หากทำเสร็จแล้วมีไขมันทรานส์เหลืออยู่ในน้ำมันนั้นเกิน 2% ก็ให้นับเป็นไขมันทรานส์ (FHO) แต่ถ้ามีไขมันทรานส์ตกค้างอยู่ต่ำกว่า 2% ก็นับเป็นไขมันใส่ไฮโดรเจนได้หมด (FHO) โดยในทางปฏิบัติใช้วัดดัชนีการไม่อิ่มตัวโดยอาศัยการทำปฏิกริยากับไอโอดีน (Iodine Value - IV) ด้วยวิธีวิเคราะห์ตามมาตรฐาน ISO 3961 หรือเทียบเท่า โดยนิยามว่าหากตรวจได้ค่า IV ต่ำกว่า 4 ก็ถือว่ามีไขมันทรานส์ต่ำกว่า 2% สาเหตุที่อย.สหรัฐฯยึดถือตัวเลข 2% ก็เพราะน้ำมันตามธรรมชาติที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการใส่ไฮโดรเจนก็มีโอกาสที่จะมีไขมันทรานส์ตกค้างได้ในระดับต่ำกว่า 2% เช่นกัน
ถามว่าหากกฎหมายไม่ได้ห้ามไขมันชนิดใส่ไฮโดรเจนได้หมด (FHO) ทำไมอุตสาหกรรมอาหารไม่ใสไฮโดรเจนให้หมดจะได้กลายเป็นน้ำมันชนิด FHO ก็จะได้ขายอย่างถูกกฎหมายได้ ตอบเลยว่า ในชีวิตจริงการทำไขมันชนิดใส่ไฮโดรเจนได้ทั้งหมด (FHO) นั้นมันทำยาก และอย่างไรเสียก็ต้องมีไขมันแบบทรานส์ (PHO) ติดมาบ้าง กระบวนการอุตสาหกรรมปัจจุบันยังไม่มีทางที่จะขจัดไขมันทรานส์ในฐานะสิ่งเจือปน (impurity) ให้หมดจนเหลือศูนย์ได้ แค่จะให้เหลือน้อยกว่า 2% นี่ต้นทุนก็อ่วมแล้ว การไปเอาน้ำมันอิ่มตัวตามธรรมชาติเช่นน้ำมันปาล์มมาใช้แทนอาจจะถูกกว่า แต่บางเจ้าเขาก็เริ่มเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อผลิตให้ได้ถึง FHO แล้วก็มี
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าครีมเทียมใส่กาแฟยี่ห้อไหน ไม่มีไขมันทรานส์ มีแต่ไขมัน fully hydrogenated fat ตอบว่าก็ต้องอ่านฉลากของเขาดู โดยอ่านเป็นขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1. ถ้าเป็นอาหารที่ขายในยุโรปและอเมริกาทุกวันนี้ กฏหมายบังคับให้ระบุจำนวนไขมันทรานส์อยู่แล้ว ก็อ่านดูในกรอบ Nutrition Facts ว่าเขาระบุว่ามีไขมันทรานส์....
ในช่อง Ingredient บรรทัดแรก คำว่า partial hydrogenated นั่นแหละ
กี่กรัม ถ้าเขาบอกว่า trans fat = 0 ก็จบข่าว คือไม่มีไขมันทรานส์เลย ส่วนจะมีไขมันอิ่มตัวกี่กรัม ก็ตามไปอ่านตรง saturated fat ส่วนว่ามันจะเป็นไขมันอิ่มตัวแบบไหน เป็น FHO หรือเป็นน้ำมันปาล์มน้ำมันหมู น้ำมันวัว คุณไม่ต้องไปสืบค้น เพราะเขาไม่บอก ถึงเขาบอกมันก็ไม่สื่ออะไร เพราะข้อมูลทางการแพทย์ปัจจุบันนี้ ไขมันอิ่มตัวทุกชนิดถูกจัดอยู่ในเข่งเดียวกันและถือว่าล้วนก่อโรคได้เสมอกันหมด
ขั้นตอนที่ 2 หากเป็นอาหารที่ขายในเมืองไทย เนื่องจากกฎหมายไทยไม่บังคับให้บอกปริมาณไขมันทรานส์ เราต้องตามไปอ่านเอาเองในช่องส่วนประกอบ (Ingradients) ถ้ามีคำว่า Partially hydrogenated soy bean oil หรืออะไรทำนองนี้ก็แปลว่าเป็นไขมันทรานส์ แต่ถ้าเขียนว่า Fully hydrogenate oil ก็แปลว่าเป็นไขมันอิ่มตัว ไม่ใช่ไขมันทรานส์ ค่ะ
ในชีวิตจริงผมเองก็เดินสำรวจอาหารบนหิ้งซูเปอร์บ้านเรานี้นานๆครั้ง ครีมเทียมใส่กาแฟส่วนใหญ่ยังเขียนฉลากว่าทำจาก partially hydrogenated oil อยู่นะครับ แต่ตอนนี้ครีมเทียมในตลาดยุโรปและอเมริกาได้ปรับตัวไปทำด้วย fully hydrogenated oil (FHO) กันบ้างแล้วเพื่อเตรียมตัวหลบกฎหมาย ดังนั้นครีมเทียมรุ่นใหม่นี้ก็คงจะเริ่มเข้ามาขายในบ้านเรา ซึ่งเราจะเห็นที่ฉลากว่า trans fat = 0 gm. และทำจาก fully hydrogenated oil ดังนั้นใครอยากหลบไขมันทรานส์ก็ขยันอ่านฉลากเอาแบบตัวใครตัวมันละกัน ตาดีได้ ตาร้ายเสีย
อาหารที่ระบุฉลากว่าเป็นไขมันชนิดใส่ไฮโดรเจนได้หมด (FHO) ก็หมายความว่าไม่ได้มีพิษภัยอย่างไขมันทรานส์ ไขมันชนิด FHO เป็นไขมันอิ่มตัว ไม่มีพิษภัยมากเท่าไขมันทรานส์ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางการแพทย์ในภาพรวม รวมทั้งคำแนะนำโภชนาการสากล เช่นคำแนะนำโภชนาการของรัฐบาลสหรัฐฯ (USDA Guideline 2016) ก็ยังแนะนำให้ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัวด้วยนะ เพราะไขมันอิ่มตัวมีความเชื่อมโยงกับการเพิ่มระดับไขมันเลว (LDL) ในร่างกาย ซึ่งเชื่อมโยงต่อไปถึงการเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจมากขึ้น แม้ว่าจะมีผลเลวร้ายไม่มากเท่าไขมันทรานส์ก็ตามค่ะ
แล้วทำไมเราไม่ใช้วิธีที่ง่ายกว่า ถูกกว่า ดีกว่าด้วยประการทั้งปวงอย่างที่ตัวหมอสันต์ทำอยู่ทุกวันนี้ล่ะคะคือดื่มแต่กาแฟดำลูกเดียว 555
ขอขอบคุณความรู้ที่ท่าน นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ มอบให้แก่เราค่ะ
บรรณานุกรม
1. Federal Registration, The Daily Journal of US Government. Final Determination Regarding Partially Hydrogenated Oils. Accessed on January 29, 2017 at
https://www.federalregister.gov/documents/2015/06/17/2015-14883/final-determination-regarding-partially-hydrogenated-oils
ขอบคุณภาพจาก exta.co.th
คำประกาศของอย.สหรัฐฯ (FDA) ที่ออกเมื่อปีค.ศ. 2015 และจะมีผลบริบูรณ์ในปี 2018 ซึ่งสั่งห้ามใช้ไขมันทรานส์ในอาหารสำเร็จรูปทุกชนิดนั้น เป็นการห้ามใช้เฉพาะไขมันทรานส์หรือไขมันชนิดใส่ไฮโดรเจนได้บางส่วน (PHO) ไม่ได้ห้ามไขมันชนิดใส่ไฮโดรเจนได้หมด (FHO)
อย.สหรัฐ (FDA) ได้นิยามความแตกต่างระหว่างไขมันทรานส์หรือไขมันใส่ไฮโดรเจนบางส่วน (PHO) กับไขมันใส่ไฮโดเจนได้หมด (FHO) ว่าแตกต่างกันที่ตัวเลข 2% กล่าวคือในกระบวนการใส่ไฮโดรเจน หากทำเสร็จแล้วมีไขมันทรานส์เหลืออยู่ในน้ำมันนั้นเกิน 2% ก็ให้นับเป็นไขมันทรานส์ (FHO) แต่ถ้ามีไขมันทรานส์ตกค้างอยู่ต่ำกว่า 2% ก็นับเป็นไขมันใส่ไฮโดรเจนได้หมด (FHO) โดยในทางปฏิบัติใช้วัดดัชนีการไม่อิ่มตัวโดยอาศัยการทำปฏิกริยากับไอโอดีน (Iodine Value - IV) ด้วยวิธีวิเคราะห์ตามมาตรฐาน ISO 3961 หรือเทียบเท่า โดยนิยามว่าหากตรวจได้ค่า IV ต่ำกว่า 4 ก็ถือว่ามีไขมันทรานส์ต่ำกว่า 2% สาเหตุที่อย.สหรัฐฯยึดถือตัวเลข 2% ก็เพราะน้ำมันตามธรรมชาติที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการใส่ไฮโดรเจนก็มีโอกาสที่จะมีไขมันทรานส์ตกค้างได้ในระดับต่ำกว่า 2% เช่นกัน
ถามว่าหากกฎหมายไม่ได้ห้ามไขมันชนิดใส่ไฮโดรเจนได้หมด (FHO) ทำไมอุตสาหกรรมอาหารไม่ใสไฮโดรเจนให้หมดจะได้กลายเป็นน้ำมันชนิด FHO ก็จะได้ขายอย่างถูกกฎหมายได้ ตอบเลยว่า ในชีวิตจริงการทำไขมันชนิดใส่ไฮโดรเจนได้ทั้งหมด (FHO) นั้นมันทำยาก และอย่างไรเสียก็ต้องมีไขมันแบบทรานส์ (PHO) ติดมาบ้าง กระบวนการอุตสาหกรรมปัจจุบันยังไม่มีทางที่จะขจัดไขมันทรานส์ในฐานะสิ่งเจือปน (impurity) ให้หมดจนเหลือศูนย์ได้ แค่จะให้เหลือน้อยกว่า 2% นี่ต้นทุนก็อ่วมแล้ว การไปเอาน้ำมันอิ่มตัวตามธรรมชาติเช่นน้ำมันปาล์มมาใช้แทนอาจจะถูกกว่า แต่บางเจ้าเขาก็เริ่มเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อผลิตให้ได้ถึง FHO แล้วก็มี
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าครีมเทียมใส่กาแฟยี่ห้อไหน ไม่มีไขมันทรานส์ มีแต่ไขมัน fully hydrogenated fat ตอบว่าก็ต้องอ่านฉลากของเขาดู โดยอ่านเป็นขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1. ถ้าเป็นอาหารที่ขายในยุโรปและอเมริกาทุกวันนี้ กฏหมายบังคับให้ระบุจำนวนไขมันทรานส์อยู่แล้ว ก็อ่านดูในกรอบ Nutrition Facts ว่าเขาระบุว่ามีไขมันทรานส์....
ในช่อง Ingredient บรรทัดแรก คำว่า partial hydrogenated นั่นแหละ
กี่กรัม ถ้าเขาบอกว่า trans fat = 0 ก็จบข่าว คือไม่มีไขมันทรานส์เลย ส่วนจะมีไขมันอิ่มตัวกี่กรัม ก็ตามไปอ่านตรง saturated fat ส่วนว่ามันจะเป็นไขมันอิ่มตัวแบบไหน เป็น FHO หรือเป็นน้ำมันปาล์มน้ำมันหมู น้ำมันวัว คุณไม่ต้องไปสืบค้น เพราะเขาไม่บอก ถึงเขาบอกมันก็ไม่สื่ออะไร เพราะข้อมูลทางการแพทย์ปัจจุบันนี้ ไขมันอิ่มตัวทุกชนิดถูกจัดอยู่ในเข่งเดียวกันและถือว่าล้วนก่อโรคได้เสมอกันหมด
ขั้นตอนที่ 2 หากเป็นอาหารที่ขายในเมืองไทย เนื่องจากกฎหมายไทยไม่บังคับให้บอกปริมาณไขมันทรานส์ เราต้องตามไปอ่านเอาเองในช่องส่วนประกอบ (Ingradients) ถ้ามีคำว่า Partially hydrogenated soy bean oil หรืออะไรทำนองนี้ก็แปลว่าเป็นไขมันทรานส์ แต่ถ้าเขียนว่า Fully hydrogenate oil ก็แปลว่าเป็นไขมันอิ่มตัว ไม่ใช่ไขมันทรานส์ ค่ะ
ขอบคุณภาพจาก ecepost.com
อาหารที่ระบุฉลากว่าเป็นไขมันชนิดใส่ไฮโดรเจนได้หมด (FHO) ก็หมายความว่าไม่ได้มีพิษภัยอย่างไขมันทรานส์ ไขมันชนิด FHO เป็นไขมันอิ่มตัว ไม่มีพิษภัยมากเท่าไขมันทรานส์ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางการแพทย์ในภาพรวม รวมทั้งคำแนะนำโภชนาการสากล เช่นคำแนะนำโภชนาการของรัฐบาลสหรัฐฯ (USDA Guideline 2016) ก็ยังแนะนำให้ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัวด้วยนะ เพราะไขมันอิ่มตัวมีความเชื่อมโยงกับการเพิ่มระดับไขมันเลว (LDL) ในร่างกาย ซึ่งเชื่อมโยงต่อไปถึงการเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจมากขึ้น แม้ว่าจะมีผลเลวร้ายไม่มากเท่าไขมันทรานส์ก็ตามค่ะ
แล้วทำไมเราไม่ใช้วิธีที่ง่ายกว่า ถูกกว่า ดีกว่าด้วยประการทั้งปวงอย่างที่ตัวหมอสันต์ทำอยู่ทุกวันนี้ล่ะคะคือดื่มแต่กาแฟดำลูกเดียว 555
ขอขอบคุณความรู้ที่ท่าน นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ มอบให้แก่เราค่ะ
บรรณานุกรม
1. Federal Registration, The Daily Journal of US Government. Final Determination Regarding Partially Hydrogenated Oils. Accessed on January 29, 2017 at
https://www.federalregister.gov/documents/2015/06/17/2015-14883/final-determination-regarding-partially-hydrogenated-oils
วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ต้นไม้ฟอกอากาศให้บ้าน
สำหรับคนที่กำลังหาไม้ประดับที่สามารถปลูกในบ้าน อาคาร สำนักงานออฟฟิต หรือในที่แสงแดดรำไรได้ และยังมีประโยชน์ในการคายความชื้นให้ห้องชุ่มชื้น และสามารถดูดสารพิษในอากาศได้อีกด้วย
ปัจจุบันมีมลพิษทางอากาศ มากขึ้นทั้งในและนอกอาคาร บ้านเรือน เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะมาจากอุปกรณ์ที่เห็นทั่วไปในชีวิตประจำวัน อาทิ โฟม พลาสติก กระดาษ เฟอร์นิเจอร์ หมึกพิมพ์ น้ำมันรถยนต์ ยาง เครื่องถ่ายเอกสาร กาว และฝ้าเพดาน ล้วนแล้วแต่มีสารที่ระเหยออกมาเป็นสารพิษปะปนอยู่ในอากาศเป็นสารเคมี ฝุ่นละอองที่เรามองไม่เห็น ซึ่งมีสารพิษในอากาศที่เป็นอันตรายอยู่ 3 ชนิดคือ ฟอร์มัลดีไฮด์, ไตรคลอโรเอทธีลีน และเบนซีน นอกจากนี้ยังมี คาร์บอนมอนอกไซด์ เกิดจากการเผาไหม้อีกด้วย สารเคมีพวกนี้ถ้าสูดดมเข้าไปมากอาจทำให้เราเป็นมะเร็ง โรคภูมิแพ้ หืดหอบ คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น
วันนี้ เราขอแนะนำต้นไม้ดูดสารพิษที่ช่วยลดมลพิษทางอากาศให้ทั้งในอาคาร บ้านเรือนที่อยู่อาศัยของเราซึ่งมีอยู่หลายชนิดมาก แต่ขอเอาชนิดที่บ้านเราปลูกอยู่มาแนะนำให้เพื่อนๆได้รู้จักก่อนนะค
1.หมากเหลือง หรือ ปาล์มไผ่
ลักษณะเป็นกอแตกหน่อ ไม่ต้องการน้ำและแดดมาก เป็นต้นไม้อีกชนิดที่นิยมปลูกประดับบริเวณบ้านเรือน หรือนอกอาคาร ความสูงประมาณ 1.8 เมตร โตช้า คายความชื้นให้แก่อากาศในห้องเป็นจำนวนมาก แต่สามารถดูดมลพิษหลายชนิด และป้องกันฝุ่นละอองได้ดีโดยเฉพาะสารพิษพวกฟอร์มัลดีไฮด์
ปัจจุบันมีมลพิษทางอากาศ มากขึ้นทั้งในและนอกอาคาร บ้านเรือน เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะมาจากอุปกรณ์ที่เห็นทั่วไปในชีวิตประจำวัน อาทิ โฟม พลาสติก กระดาษ เฟอร์นิเจอร์ หมึกพิมพ์ น้ำมันรถยนต์ ยาง เครื่องถ่ายเอกสาร กาว และฝ้าเพดาน ล้วนแล้วแต่มีสารที่ระเหยออกมาเป็นสารพิษปะปนอยู่ในอากาศเป็นสารเคมี ฝุ่นละอองที่เรามองไม่เห็น ซึ่งมีสารพิษในอากาศที่เป็นอันตรายอยู่ 3 ชนิดคือ ฟอร์มัลดีไฮด์, ไตรคลอโรเอทธีลีน และเบนซีน นอกจากนี้ยังมี คาร์บอนมอนอกไซด์ เกิดจากการเผาไหม้อีกด้วย สารเคมีพวกนี้ถ้าสูดดมเข้าไปมากอาจทำให้เราเป็นมะเร็ง โรคภูมิแพ้ หืดหอบ คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น
วันนี้ เราขอแนะนำต้นไม้ดูดสารพิษที่ช่วยลดมลพิษทางอากาศให้ทั้งในอาคาร บ้านเรือนที่อยู่อาศัยของเราซึ่งมีอยู่หลายชนิดมาก แต่ขอเอาชนิดที่บ้านเราปลูกอยู่มาแนะนำให้เพื่อนๆได้รู้จักก่อนนะค
1.หมากเหลือง หรือ ปาล์มไผ่
ลักษณะเป็นกอแตกหน่อ ไม่ต้องการน้ำและแดดมาก เป็นต้นไม้อีกชนิดที่นิยมปลูกประดับบริเวณบ้านเรือน หรือนอกอาคาร ความสูงประมาณ 1.8 เมตร โตช้า คายความชื้นให้แก่อากาศในห้องเป็นจำนวนมาก แต่สามารถดูดมลพิษหลายชนิด และป้องกันฝุ่นละอองได้ดีโดยเฉพาะสารพิษพวกฟอร์มัลดีไฮด์
ศาลาพักผ่อน...มุมนั่งเล่นบ้านเรา
บ้านของคนเรานั้นใช่ว่าแต่จะมีการอาศัยในบ้านเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในบางครั้งเราต้องออกมานั่งเล่นนอกบ้านเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์หรือทำกิจกรรมอื่นๆเช่น การออกกำลังกาย การนั่งพักผ่อนคลายเครียดเวลาที่ทำงานหนักๆ เราจึงได้รวบรวมภาพไอเดียการตกแต่งภายนอกบ้านให้เป็นมุมนั่งเล่นหน้าบ้านหรือเป็นมุมนั่งเล่นในสวน ให้เพื่อนๆได้นำแบบการออกแบบมุมนั่งเล่นไปประยุกต์ใช้กับบ้านของตัวเองได้เลย
ข้อคำนึงในการออกแบบมุมนั่งเล่นในสวน
- วัสดุในการก่อสร้าง เพราะมุมนั่งเล่นในสวน หรือมุมนั่งเล่นข้างบ้าน จะต้องตากแดดตากฝนเป็นเวลานานๆหากเราใช้ไม้เป็นวัสดุในการก่อสร้างก็อาจจะทำให้ผุกร่อนได้ หรือหากใช้ไม้ก็ควรมีที่บังแดดบังฝนให้ด้วย
- สถานที่ก่อสร้าง มุมนั่งเล่นควรสร้างอยู่บริเวณที่อากาศถ่ายเทสะดวกและเหมาะแก่การนั่งเล่นพักผ่อน คงไม่ดีนักหากเราสร้างมุมนั่งเล่นไว้ใกล้ๆกับห้องน้ำที่มีกลิ่นและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ค่อยดี
มุมนั่งเล่นนอกบ้าน นั้นเป็นสิ่งจำเป็นมากเลยทีเดียวเพราะคงไม่มีมนุษย์คนไหนอยู่แต่ในบ้านแน่นอน หากเราไม่สามารถทำมุมนั่งเล่นในสวนหรือมุมนั่งเล่นหน้าบ้านได้ ก็อาจจะดีไซน์มุมนั่งเล่นข้างบ้านเล็กๆหรือเอาไว้บนระเบียงชั้น 2 ของตัวบ้านก็ได้
การตกแต่งจัดสวนภายในบริเวณพื้นที่ว่างของบ้าน ในทุกพื้นที่ของบ้าน เป็นการช่วยเพิ่มให้คนในบ้านได้แนบชิดกับธรรมชาติได้มากที่สุด และทำให้บ้านดูสดชื่นมากขึ้น
มุม” โปรดของบ้านเพื่อนๆ คือส่วนไหนกันบ้างคะ เพราะว่ามุมโปรดที่ว่านี้มักทำให้คนในบ้านได้พักผ่อนอย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังได้รับกลิ่นไอจากธรรมชาติสีเขียวอย่างแท้จริงในบริเวณสวนที่เราสร้างขึ้น เพื่อให้มุมโปรดของทุกคนได้มีความร่มรื่นอย่างลงตัว การตกแต่งจัดสวนภายในบริเวณพื้นที่ว่างของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นข้างบ้าน หลังบ้าน หรือแม้แต่กระทั่งบนดาดฟ้าของบ้านก็สามารถทำได้ค่ะ เป็นการช่วยเพิ่มให้คนในบ้านได้แนบชิดกับธรรมชาติได้มากที่สุด และยังเพิ่มให้บ้านดูสดชื่นมากขึ้น ยิ่งถ้าเป็นคนที่ชอบธรรมชาติอยู่แล้ว เราว่าแบบนี้มันดูเหมาะมากที่สุด เพราะนอกจากจะจัดพื้นที่ชอบให้เป็นสวนแล้ว เรายังสามารถที่จะนำโต๊ะ เก้าอี้ โซฟา มาวางไว้ให้เป็นที่นั่งชมวิว ชมสวนรอบบ้านที่เราลงมือตกแต่งด้วยตัวเอง เป็นการนั่งชื่นชมผลงานของตัวเองไงล่ะคะ
เอามุมโปรดของเรามาให้เพื่อนดูบ้างค่ะ ที่บ้านจัดแบบสำเร็จรูปไปเลย เดินหาซื้อตามร้านที่เค้าตั้งโชว์เอาไว้ขาย มีหลายแบบ หลายวัสดุที่ใช้ทำ ไม้จริง ไม้เชอร่า แล้วแต่เราชอบค่ะ ของเราเลือกแบบไม้จริง ที่นั่งพิงเป็นแบบกงล้อเกวียน หายากอยู่และความคงทนสูง คุณสามีดูแล้วเลยเลือกแบบนี้ล่ะ วันติดตั้งเค้ายกมาเป็นชิ้น มาประกอบที่บ้านจนเป็นรูปเป็นร่าง แบบนี้ค่ะ
ขอบคุณข้อมูลและภาพจากบ้านและสวน
จาก http://homedeedeeforyou.com/
ข้อคำนึงในการออกแบบมุมนั่งเล่นในสวน
- วัสดุในการก่อสร้าง เพราะมุมนั่งเล่นในสวน หรือมุมนั่งเล่นข้างบ้าน จะต้องตากแดดตากฝนเป็นเวลานานๆหากเราใช้ไม้เป็นวัสดุในการก่อสร้างก็อาจจะทำให้ผุกร่อนได้ หรือหากใช้ไม้ก็ควรมีที่บังแดดบังฝนให้ด้วย
- สถานที่ก่อสร้าง มุมนั่งเล่นควรสร้างอยู่บริเวณที่อากาศถ่ายเทสะดวกและเหมาะแก่การนั่งเล่นพักผ่อน คงไม่ดีนักหากเราสร้างมุมนั่งเล่นไว้ใกล้ๆกับห้องน้ำที่มีกลิ่นและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ค่อยดี
มุมนั่งเล่นนอกบ้าน นั้นเป็นสิ่งจำเป็นมากเลยทีเดียวเพราะคงไม่มีมนุษย์คนไหนอยู่แต่ในบ้านแน่นอน หากเราไม่สามารถทำมุมนั่งเล่นในสวนหรือมุมนั่งเล่นหน้าบ้านได้ ก็อาจจะดีไซน์มุมนั่งเล่นข้างบ้านเล็กๆหรือเอาไว้บนระเบียงชั้น 2 ของตัวบ้านก็ได้
มุม” โปรดของบ้านเพื่อนๆ คือส่วนไหนกันบ้างคะ เพราะว่ามุมโปรดที่ว่านี้มักทำให้คนในบ้านได้พักผ่อนอย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังได้รับกลิ่นไอจากธรรมชาติสีเขียวอย่างแท้จริงในบริเวณสวนที่เราสร้างขึ้น เพื่อให้มุมโปรดของทุกคนได้มีความร่มรื่นอย่างลงตัว การตกแต่งจัดสวนภายในบริเวณพื้นที่ว่างของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นข้างบ้าน หลังบ้าน หรือแม้แต่กระทั่งบนดาดฟ้าของบ้านก็สามารถทำได้ค่ะ เป็นการช่วยเพิ่มให้คนในบ้านได้แนบชิดกับธรรมชาติได้มากที่สุด และยังเพิ่มให้บ้านดูสดชื่นมากขึ้น ยิ่งถ้าเป็นคนที่ชอบธรรมชาติอยู่แล้ว เราว่าแบบนี้มันดูเหมาะมากที่สุด เพราะนอกจากจะจัดพื้นที่ชอบให้เป็นสวนแล้ว เรายังสามารถที่จะนำโต๊ะ เก้าอี้ โซฟา มาวางไว้ให้เป็นที่นั่งชมวิว ชมสวนรอบบ้านที่เราลงมือตกแต่งด้วยตัวเอง เป็นการนั่งชื่นชมผลงานของตัวเองไงล่ะคะ
เอามุมโปรดของเรามาให้เพื่อนดูบ้างค่ะ ที่บ้านจัดแบบสำเร็จรูปไปเลย เดินหาซื้อตามร้านที่เค้าตั้งโชว์เอาไว้ขาย มีหลายแบบ หลายวัสดุที่ใช้ทำ ไม้จริง ไม้เชอร่า แล้วแต่เราชอบค่ะ ของเราเลือกแบบไม้จริง ที่นั่งพิงเป็นแบบกงล้อเกวียน หายากอยู่และความคงทนสูง คุณสามีดูแล้วเลยเลือกแบบนี้ล่ะ วันติดตั้งเค้ายกมาเป็นชิ้น มาประกอบที่บ้านจนเป็นรูปเป็นร่าง แบบนี้ค่ะ
ขอบคุณข้อมูลและภาพจากบ้านและสวน
จาก http://homedeedeeforyou.com/
วันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ไม้มงคลประจำบ้าน...โป๊ยเซียน
โป๊ยเซียน (八仙) มาจากภาษาจีน แปลว่าเทพยดาทั้ง 8 องค์ ได้แก่ เซียนทิก๋วยลี้ เซียนฮั่นจงหลี เซียนลือท่งปิน เซียนเจียงกั๋วเล้า เซียนหลันไฉ่เหอ เซียนฮ่อเซียนโกว เซียนหันเซียงจือ เซียนเชาก๊กกู๋ เชื่อกันว่า ถ้าบ้านใดมีดอกโป๊ยเซียนครบ 8 ดอก จะนำความโชคดีมาให้แก่บ้านของผู้นั้น
ลักษณะโดยทั่วไป
ใบยาวรี ปลายใบจะแหลม ออกดอกเป็นกลุ่มๆ แต่ละดอกจะมีกลีบอยู่ตรงข้ามกัน ดอกโป๊ยเซียนมีหลายสี เช่น แดง เหลือง ชมพู ส้ม ขาว เป็นต้น ดอกโป๊ยเซียนจะออกดอกทั้งปี แต่ออกมากในหน้าหนาว และดอกจะทนมาก ลำต้นมีหนามแหลม และแข็งคล้ายกระบองเพชร
การขยายพันธุ์โป๊ยเซียน
สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การปักชำ การตอนกิ่ง การเสียบกิ่ง และการเพาะเมล็ด แต่ที่นิยมทำมากและได้ผลดีคือ การปักชำ และการเสียบกิ่ง
การดูแลรักษา
เนื่องจากโป๊ยเซียนเป็นพืชมงคล ผู้ปลูกจึงควรดูแลรักษามากเป็นพิเศษเพราะมันมีคุณค่าทางจิตใจ ผู้ปลูกจึงควรปลูกในสภาพแวดล้อมที่ดี และควรจะมีการดูแลรักษาที่ดีด้วย
ดินที่นำมาปลูก ควรเป็นดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ไม่เช่นนั้นรากโป๊ยเซียนอาจเน่าได้ ที่สำคัญควรเปลี่ยนดินทุกๆปี
แสงแดด โป๊ยเซียนเป็นพืชที่ชอบแดด จึงควรให้โป๊ยเซียนได้รับแสงแดดที่เพียงพอ ถ้ามากไปดอกจะเล็ก แต่ถ้าน้อยไปดอกจะโต ต้นจะไม่แข็งแรง
น้ำ โป๊ยเซียนทนต่อสภาพแล้งได้ดีพอสมควร จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำทุกวัน ถ้าโป๊ยเซียนอยู่ในช่วงออกดอก ไม่ควรรดน้ำที่ดอกเพราะจะทำให้ดอกเน่าและร่วงเร็ว และหากรดน้ำมากเกินไป จะทำให้โป๊ยเซียนเป็นโรครากเน่า และเกิดเชื้อราขึ้นในดินที่ใช้ปลูก
ปุ๋ย สามารถใส่ได้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ โดยปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอกหรือ ปุ๋ยหมักจะทำให้ดินร่วนซุย ควรให้ปุ๋ยแก่โป๊ยเซียนเดือนละ 1-2ครั้ง
การตัดแต่งกิ่ง โป๊ยเซียนบางพันธุ์อาจแตกกิ่งออกมามาก ทำให้ใบอาจจะไปปิดบังแสง แล้วทำให้อากาศไม่ถ่ายเท จึงควรมีการตัดแต่งกิ่งทั้งเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก และเพื่อความสวยงาม นอกจากนี้กิ่งที่ตัดออกมายังสามารถนำไปขยายพันธุ์ต่อได้อีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจากวิกิสปีชีส์
ไม้ดอกสวยงาม...ยามสาย
วันนี้เอาไม้ดอกสีสันสวยงามในกระถางมาอวดค่ะ ชอบมากๆกับสีสันความสดใสยามสายของเจ้าดอกแพรเซี่ยงไฮ้ คุณเธอเป็นพืชดอกล้มลุกในวงศ์ผักเบี้ย ลำต้นและใบอวบน้ำ มีดอกหลายสี แพรเซี่ยงไฮ้ยังมีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกดังนี้ ดอกผักเบี้ย แดงสวรรค์ และผักเบี้ยฝรั่ง นอกจากนี้แพรเซี่ยงไฮ้คลุมดิน ยังทำให้ดอกสวยดินไม่ทลาย สำหรับเนินดินอีกด้วย วันนี้เราเลยนำไอเดีย การแต่งสวนสวยด้วยแพรเซี่ยงไฮ้ Moss rose มาฝากค่ะ
คุณนายตื่นสายหรือแพรเซี้ยงไฮ้มีความแตกต่างกันตรงที่ คุณนายตื่นสายจะเป็นดอกชั้นเดียว แต่ แพรเซี่ยงไฮ้ Moss roseจะมีดอก 2 ชั้น นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างเรื่องใบ คุณนายตื่นสายจใบทรงแบนแต่แพรเซี่ยงไฮ้จะมีใบเรียวๆแหลมดอกจะมีหลายสี ทั้งสีม่วง สีบานเย็น สีส้ม สีแดง สีขาว สีเหลืองและสีชมพู
แพรเซี่ยงไฮ้ ที่เพื่อนๆ เรียกเหมารวมกับ คุณนายตื่นสายมาตลอดก็มี แต่จริงๆแล้วทั้งสองการปลูกการขยายพันธุ์และการดูแล เลี้ยงง่ายโตเร็ว จะปลูกคลุมดินหรือเป็นไม้แขวนก็ได้สวยงามทั้งนั้นค่ะ
คุณนายตื่นสายหรือแพรเซี้ยงไฮ้มีความแตกต่างกันตรงที่ คุณนายตื่นสายจะเป็นดอกชั้นเดียว แต่ แพรเซี่ยงไฮ้ Moss roseจะมีดอก 2 ชั้น นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างเรื่องใบ คุณนายตื่นสายจใบทรงแบนแต่แพรเซี่ยงไฮ้จะมีใบเรียวๆแหลมดอกจะมีหลายสี ทั้งสีม่วง สีบานเย็น สีส้ม สีแดง สีขาว สีเหลืองและสีชมพู
แพรเซี่ยงไฮ้ ที่เพื่อนๆ เรียกเหมารวมกับ คุณนายตื่นสายมาตลอดก็มี แต่จริงๆแล้วทั้งสองการปลูกการขยายพันธุ์และการดูแล เลี้ยงง่ายโตเร็ว จะปลูกคลุมดินหรือเป็นไม้แขวนก็ได้สวยงามทั้งนั้นค่ะ
เห็นถึงสีสัน ความสวยงามของคุณเธอทั้งหลายหรือยังคะ เถียงไม่ออกเลยน่ะสิว่าสีสวยเด่นมาแต่ไกล น่ารักกระจุ๋มกระจิ๋มดีค่ะ ปลูกมุมไหนมองแล้วสวยงามไปหมด ครั้งหน้าจะเอาไม้มงคลที่มีดอกสวยงามมาฝากอีกนะคะ อย่าเพิ่งเบื่อซะก่อนล่ะคะ
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก ihome108
วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560
การจัดสวนทางทิศตะวันตก
อากาศร้อนๆ ส่งผลกระทบต่อสวนโดยตรง ยิ่งหากมุมสวนของบ้านตั้งอยู่ในทิศตะวันตกด้วยแล้ว ยิ่งต้องดูแลเป็นการใหญ่ ซึ่งอย่างที่เข้าใจกันดีว่า “สวนช่วยให้บ้านเย็น” ตำแหน่งของสวนจึงมักถูกวางให้บังความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวอาคารโดยตรง นั่นคือทิศตะวันตก แม้จะเป็นมุมที่ไม่เป็นต่อผลดีต่อต้นไม้สักเท่าไหร่ แต่การจัดสวนในทิศนี้ก็เป็นอีกทางแก้ปัญหาให้บ้านเย็นได้ ว่าแล้วก็ไปดูกันเลยดีกว่าว่ามีวิธีไหนช่วยให้สวนเย็นบ้านเย็นในฤดูร้อนกันบ้าง
ข้อดีข้อเสียของสวนทิศตะวันตก
ทิศตะวันตกเป็นตำแหน่งที่รับแสงแดดในช่วงบ่ายของวัน ซึ่งเป็นแดดแรงและยาวนานถึง 6 ชั่วโมง ในการออกแบบบ้านจึงนิยมเหลี่ยงการใช้งานพื้นที่ส่วนนี้ในช่วงเย็นและมักถูกออกแบบให้ห้องน้ำอยู่ในตำแหน่งนี้ และแยกห้องนอนให้ห่างด้วยว่าเป็นพื้นที่ใช้งานในช่วงเย็นของวัน ซึ่งตกดึกผนังซีเมนต์จะคายความร้อน ส่งผลให้ห้องนอนมีอากาศร้อนอบอ้าวทำให้หลับไม่สบาย
ตำแหน่งของสวนก็เช่นเดียวกัน หากอยู่ในทิศตะวันตกแล้ว สวนจะทำหน้าที่บังแดดแรงในช่วงบ่ายของวันพร้อมๆ กับทำหน้าที่จับฝุ่นละอองไม่ให้พัดปลิวเข้าสู่ภายในบ้าน หากจัดสวนในมุมนี้จะช่วยให้มีพื้นที่ใช้งานในช่วงบ่ายของวันโดยที่ไม่ต้องอยู่ในบ้านเพียงอย่างเดียว ส่วนข้อเสียที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ความร้อนของแดดที่พร้อมจะทำลายต้นไม้แสนรัก การเลือกต้นไม้ที่เหมาะสมและการวางระบบน้ำ จึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆ
การแก้ปัญหาสวนร้อนบ้านร้อน เป็นสิ่งที่สามารถวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ เริ่มจากขั้นตอนของการออกแบบ การวางตำแหน่งของอาคาร ดูทิศทางแสงทิศทางลม หากมีการออกแบบที่ดีปัญหาเรื่องความร้อนในการพักอาศัยก็จะน้อยลง การจัดสวนก็เช่นกัน หากเลือกตำแหน่งองค์ประกอบในสวนให้ดี เหมาะสมกับการใช้งาน สอดคล้องกับความสวยงามที่เจ้าของบ้านชื่นชอบ สวนก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้บ้านเย็นและเป็นตัวชูโรงให้บ้านสดชื่นน่าอยู่ด้วย
ที่บ้านคุณสามีจึงวางแผนไว้แต่แรกเริ่มเลย ลงต้นไผ่เลี้ยงเป็นแผงเรียงกันบริเวณที่ซักล้าง ประโยชน์บังแดดได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ มุมนี้เลยเป็นมุมที่ใ้ห้ความร่มเย็นทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่ายเลยค่ะ ลมลงบริเวณนี้ตลอดวัน จนอยากจะย้ายเก้าอี้หรือศาลาพักผ่อนมาไว้จะได้นั่งๆนอนๆแบบสบายอุราไปเลย อิอิอิ ตอนนี้ที่ทำอยู่คือยกเก้าอี้หวายมาตั้งเป็นครั้งคราวไปค่ะ
ข้อดีข้อเสียของสวนทิศตะวันตก
ทิศตะวันตกเป็นตำแหน่งที่รับแสงแดดในช่วงบ่ายของวัน ซึ่งเป็นแดดแรงและยาวนานถึง 6 ชั่วโมง ในการออกแบบบ้านจึงนิยมเหลี่ยงการใช้งานพื้นที่ส่วนนี้ในช่วงเย็นและมักถูกออกแบบให้ห้องน้ำอยู่ในตำแหน่งนี้ และแยกห้องนอนให้ห่างด้วยว่าเป็นพื้นที่ใช้งานในช่วงเย็นของวัน ซึ่งตกดึกผนังซีเมนต์จะคายความร้อน ส่งผลให้ห้องนอนมีอากาศร้อนอบอ้าวทำให้หลับไม่สบาย
ตำแหน่งของสวนก็เช่นเดียวกัน หากอยู่ในทิศตะวันตกแล้ว สวนจะทำหน้าที่บังแดดแรงในช่วงบ่ายของวันพร้อมๆ กับทำหน้าที่จับฝุ่นละอองไม่ให้พัดปลิวเข้าสู่ภายในบ้าน หากจัดสวนในมุมนี้จะช่วยให้มีพื้นที่ใช้งานในช่วงบ่ายของวันโดยที่ไม่ต้องอยู่ในบ้านเพียงอย่างเดียว ส่วนข้อเสียที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ความร้อนของแดดที่พร้อมจะทำลายต้นไม้แสนรัก การเลือกต้นไม้ที่เหมาะสมและการวางระบบน้ำ จึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆ
การแก้ปัญหาสวนร้อนบ้านร้อน เป็นสิ่งที่สามารถวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ เริ่มจากขั้นตอนของการออกแบบ การวางตำแหน่งของอาคาร ดูทิศทางแสงทิศทางลม หากมีการออกแบบที่ดีปัญหาเรื่องความร้อนในการพักอาศัยก็จะน้อยลง การจัดสวนก็เช่นกัน หากเลือกตำแหน่งองค์ประกอบในสวนให้ดี เหมาะสมกับการใช้งาน สอดคล้องกับความสวยงามที่เจ้าของบ้านชื่นชอบ สวนก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้บ้านเย็นและเป็นตัวชูโรงให้บ้านสดชื่นน่าอยู่ด้วย
ที่บ้านคุณสามีจึงวางแผนไว้แต่แรกเริ่มเลย ลงต้นไผ่เลี้ยงเป็นแผงเรียงกันบริเวณที่ซักล้าง ประโยชน์บังแดดได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ มุมนี้เลยเป็นมุมที่ใ้ห้ความร่มเย็นทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่ายเลยค่ะ ลมลงบริเวณนี้ตลอดวัน จนอยากจะย้ายเก้าอี้หรือศาลาพักผ่อนมาไว้จะได้นั่งๆนอนๆแบบสบายอุราไปเลย อิอิอิ ตอนนี้ที่ทำอยู่คือยกเก้าอี้หวายมาตั้งเป็นครั้งคราวไปค่ะ
อ้อ...ลืมบอกไปอย่างค่ะ เวลาปลูกไผ่ลงดินบริเวณข้างกำแพง ควรให้ห่างจากกำแพงมากๆหน่อยก็ดีนะคะ เวลาใบไผ่ร่วงจะได้ไม่ปลิวเข้าไปรบกวนบ้านข้างเคียงน่ะค่ะ การตัดแต่งกิ่งก็ต้องทำบ่อยๆเพราะไผ่เติบโตแตกกิ่งก้านเร็วมากค่ะ ส่วนระยะการปลูกห่างกันสักหลุมละครึ่งเมตร เรียงไปตามแนวยาวตามที่เราต้องการได้เลยค่ะ ปลูกลงดินได้เลย ไผ่หากินผิวดิน หรือจะใส่กระถางก็ได้ แต่ควรหากระถางที่เข้ากับต้นไผ่และภูมิทัศน์ตรงนั้นด้วย(แต่ลงดินง่ายสุด ขออย่างเดียวให้มีน้ำพอค่ะ)
การควบคุมการโต หรือการแผ่กอก็แค่ตัดหน่อออกไปแกงกินบ้างแจกเพื่อนบ้านบ้าง คือเลือกตัดหน่อที่เราไม่อยากให้เขาโตขึ้นลำตรงนั้นออกไปค่ะ ส่วนเรื่องความสูงเราสามารถตัดเรือนยอดของลำไผ่เพื่อจำกัดความสูงได้ คืออาจปล่อยให้หน่อโตเป็นลำได้ความสูงที่เราต้องการก็ตัดยอดลำนั้นได้เลย ส่วนมุมไหนเราจะปล่อยลำให้สูงขึ้นไปก็ไม่ต้องตัดยอดเขาค่ะ เอามาฝากแค่นี้ก่อนนะ รอติดตามเรื่องอื่นกันบ้างดีกว่ากลัวจะเบื่อซะก่อนจ้า
วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ชนิดของผ้าม่าน
วันนี้พูดเรื่องในบ้านกันบ้างนะ ของตกแต่งบ้านที่สำคัญมากๆเรื่องใหญ่เลยล่ะค่ะ บางคนกล่าวไว้ว่าสิ่งนี้แสดงถึงรสนิยมของเจ้าของบ้านได้เป็นอย่างดี เราก็ว่างั้นนะ กว่าจะเลือกผ้าม่านได้จนเสร็จสรรพ คิดนานเหมือนกัน ม่านแบบไหนดี สีอะไรดี ผ้าแบบไหนที่ดีและเหมาะสมกับการใช้งาน ผ้าม่านนอกจากจะสวยงามแล้ว ยังมีข้อดีที่มาพร้อมกับความสวยงาม ทั้งช่วยควบคุมแสง สร้างความเป็นส่วนตัว นอกจากนี้ยังช่วยเก็บเสียงและป้องกันฝุ่นละอองที่จะเข้ามาภายในบ้านด้วย เอาเป็นว่าใครคิดจะซื้อม่านหรือเปลี่ยนม่านใหม่ ลองอ่านกันก่อนนะคะ
ม่านจีบ
เป็นม่านที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะสามารถเข้าได้กับการตกแต่งบ้านได้ทุกสไตล์ แล้วแต่คุณจะเลือกเนื้อผ้าและสีสัน ใช้งานสะดวก ลักษณะของม่านคือมีการจับจีบด้านบน เว้นระยะเท่าๆกัน ต่างจากม่านคอกระเช้าและม่านตาไก่ที่จะต้องคอยจัดผ้าให้ช่องเท่าๆกัน
ม่านจีบสามารถติดผ้าได้ 2 ชั้นคือม่านโปร่งและม่านทึบ
ม่านจีบ
เป็นม่านที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะสามารถเข้าได้กับการตกแต่งบ้านได้ทุกสไตล์ แล้วแต่คุณจะเลือกเนื้อผ้าและสีสัน ใช้งานสะดวก ลักษณะของม่านคือมีการจับจีบด้านบน เว้นระยะเท่าๆกัน ต่างจากม่านคอกระเช้าและม่านตาไก่ที่จะต้องคอยจัดผ้าให้ช่องเท่าๆกัน
ม่านจีบสามารถติดผ้าได้ 2 ชั้นคือม่านโปร่งและม่านทึบ
วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560
บ้านประหยัดพลังงาน
ตอนนี้บ้านประหยัดพลังงานของเมืองไทย ที่เจ้าของบ้านทั่วไปสามารถจะก่อสร้างเพื่ออยู่อาศัยได้ กำลังจะพัฒนาขึ้นไปอีกระดับ จากเดิมเมื่อสักประมาณ 15 -20 ปีก่อน ที่มีอยู่ด้วยกัน 2 แนวทาง คือ บ้านที่ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุด หรือไม่ใช้พลังงานเลย อีกแนวทางที่พัฒนาขึ้นไปก็คือ บ้านที่ใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ หรือใช้แล้วใช้ให้คุ้มค่า และเมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนาจนมีราคาที่ไม่แพงเกินไปและรัฐให้การส่งเสริมสนับสนุน โดยเฉพาะระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar cell หรือ PV cell) สำหรับติดตั้งบนหลังคาบ้าน (Solar PV Rooftop) บ้านประหยัดพลังงานของไทยเรากำลังพัฒนาจาก “บ้านประหยัดพลังงาน” เป็น “บ้านผลิตพลังงาน” อาจเรียกเป็น “บ้านพลังงานศูนย์” (Zero Energy House) และน่าจะพัฒนาต่อจนเป็น “บ้านผลิตพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” แนวคิดที่ว่านี้มีมานานแล้ว มีการก่อสร้างจริงเพื่อศึกษาวิจัยเป็นระยะเวลาพอสมควร บทความตอนนี้จึงขออธิบายแนวทางของบ้านประหยัดพลังงานแต่ละแนวทางไว้ เพื่อท่านเจ้าของบ้านจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในการก่อสร้างหรือปรับปรุงบ้านกันนะคะ
บ้านประหยัดพลังงาน โดยใช้พลังงานน้อยที่สุดหรือไม่ต้องใช้พลังงานเลย
ถ้าเอ่ยถึงบ้านประหยัดพลังงานแบบนี้ เรามักยกตัวอย่าง “เรือนไทย” ที่ก่อสร้างวางตัวบ้านให้สอดคล้องกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศร้อนชื้นของไทย เช่น หลบแดด รับลม และได้แสงธรรมชาติที่ดีเพียงพอ บ้านจึงมีลักษณะ โปร่ง โล่ง มีการวางเรือนแยกเป็นหลัง แล้วเชื่อมด้วยชานระเบียง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ลมพัดผ่านระบายอากาศร้อนและความชื้นไม่ให้สะสม วัสดุที่ใช้จึงมักเป็นวัสดุธรรมชาติและมีความหนาไม่มาก จึงไม่อมความร้อนไว้ เช่น ไม้ ส่วนหลังคาก็มีชายคายื่นยาวเพื่อป้องกันฝน และแดดไม่ให้ตกกระทบกับผนังหรือส่องผ่านหน้าต่างเข้ามาจนทำให้ภายในบ้านร้อน และด้วยเหตุที่ต้องอาศัยธรรมชาติดังนั้นโดยรอบบ้านจึงต้องมีสภาพแวดล้อมที่ดี เช่นมีต้นไม้ให้ร่มเงา มีแหล่งน้ำเพื่อช่วยลดอากาศร้อนก่อนที่จะเข้ามาในตัวบ้าน ถ้าสภาพแวดล้อมและการออกแบบตัวบ้านดี พลังงาน (ไฟฟ้า) ที่ต้องใช้เพื่อการอยู่อาศัยก็มีการใช้แต่น้อยเท่าที่จำเป็น ภาษาวิชาการเรียกเป็นบ้านแบบ แพสทีฟซิสเต็ม (Passive System)
บ้านประหยัดพลังงาน โดยใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
แต่เมื่อสภาพแวดล้อมบางพื้นที่เปลี่ยนไป เช่น พื้นที่ในเมือง มีแต่ตึกแออัด ไม่มีที่โล่งและต้นไม้มีแต่ถนน การจะเปิดบ้านให้โล่งเพื่อรับลมก็จะเกิดปัญหาเพราะมีแต่ฝุ่นและควันรถ เป็นผลให้จำเป็นต้องปิดหน้าต่างแล้วเปิดแอร์เพื่อปรับอากาศที่ต้องใช้พลังงาน ดังนั้นบ้านจึงต้องออกแบบให้มีการรั่วซึมของอากาศน้อย ใช้วัสดุที่ช่วยป้องกันความร้อนไม่ให้เข้าสู่ภายในบ้าน เช่น ใช้ฉนวนกันความร้อนมาเสริม หรือใช้กระจกที่มีสมบัติป้องกันความร้อนได้ดี เพื่อให้การใช้พลังงาน (ในการปรับอากาศ) มีประสิทธิภาพ แนวทางนี้ภาษาวิชาการเรียกว่าเป็นบ้านแบบ แอคทีฟซิสเต็ม (Active System) อย่างไรก็ตาม บ้านในแนวทางนี้ก็ยังต้องออกแบบวางตัวบ้านให้สอดคล้องกับทิศทางแดดลม เพราะหากบ้านหลังใดออกแบบไม่ดี หันทิศทางไม่ถูกต้อง ปล่อยให้แดดส่องเข้ามาภายในบ้านเกิดเป็นความร้อนสะสมกักเก็บไว้ภายใน ผลก็คือร้อน และยิ่งร้อนมากขึ้นหากติดฉนวนทั้งบ้านโดยที่ไม่ได้รับการออกแบบที่ดี เพราะฉนวนกันความร้อนที่เราหวังจะให้กันความร้อนเข้า ก็จะกลายเป็นตัวกันไม่ให้ความร้อนระบายออก เมื่อเปิดแอร์ก็จะสิ้นเปลืองทั้งพลังงานและค่าไฟ
สองแนวทางแรกนี่เป็นแนวทางพื้นฐานที่ต้องคำนึงถึงและนำไปใช้ในบ้านทุกหลัง บ้านประหยัดพลังงานที่ผ่านมาส่วนใหญ่ก็เป็นการประยุกต์ใช้สองแนวทางข้างต้นผสมผสานกันนั่นเองค่ะ
บ้านผลิตพลังงาน หรือบ้านพลังงานศูนย์ (Zero Energy House)
บ้านแนวคิดนี้ไม่ได้หมายความว่าการอยู่อาศัยในบ้านไม่มีการใช้พลังงานเลย แต่หมายความว่า พลังงานไฟฟ้าที่บ้านผลิตได้กับที่ใช้ไป เมื่อหักลบกันแล้วมีค่าเป็นศูนย์ เพราะเมื่อบ้านได้รับการออกแบบวางตัวบ้านที่ดี ใช้วัสดุที่เหมาะสม พลังงานไฟฟ้าที่ต้องใช้ในบ้านก็น้อยลงจนถึงระดับที่สามารถจะนำเอาเทคโนโลยีมาผลิตไฟฟ้าให้มีปริมาณเพียงพอกับที่ต้องการใช้ภายในบ้าน หัวใจสำคัญของบ้านแนวคิดนี้ยังต้องอาศัยหลักการออกแบบบ้านให้พึ่งพาธรรมชาติเป็นหลักเพื่อให้ใช้พลังงานน้อยที่สุด บริเวณใดที่ต้องใช้พลังงานก็มีการออกแบบเพื่อให้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วจึงนำเทคโนโลยีผลิตพลังงานมาติดตั้งเสริมเข้าไป ปัจจุบันก็คือการใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์มาติดตั้งบนอาคารหลังคาบ้านเพื่อให้ผลิตไฟฟ้า โดยการออกแบบตัวบ้านต้องคำนึงถึงทิศทางของการวางแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อให้ได้รับแสงมากที่สุดโดยไม่ให้มีสิ่งบดบังที่ทำให้เกิดเงาทาบบนแผง หรือมีก็น้อยที่สุด เทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (PV cell) แต่เดิมราคาค่อนข้างสูงและการส่งเสริมจากภาครัฐยังมีน้อยอยู่ แต่นับต่อจากนี้ จะกลายเป็นเรื่องปรกติธรรมดาสำหรับบ้านทุกหลัง
บ้านผลิตพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Ecology House, Bio-Solar House)
เมื่อบ้านถูกออกแบบให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและใช้พลังงานน้อย จนสามารถผลิตไฟฟ้าให้มีเพียงพอสำหรับการใช้ในบ้าน แนวคิดเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมจะถูกเสริมเพิ่มเข้ามาในการออกแบบบ้าน การเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์ในบ้าน หัวใจหลักก็คือ
- การไม่ให้ของเสียภายในบ้านถูกปล่อยทิ้งออกไป เช่น เศษอาหาร น้ำทิ้งและของเสียในห้องน้ำ ฯลฯ แต่นำกลับมาเป็นของดีใช้ภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร หรือนำน้ำเสียกลับมารดน้ำต้นไม้ หรืออาจใช้การหมักของเสียให้เกิดเป็นก๊าซที่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้มภายในบ้านได้
- การใช้วัสดุสร้างบ้านที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยจะมีการประเมินเลือกใช้วัสดุที่ใช้พลังงานในการผลิต พลังงานในการขนส่งน้อยลง (เปรียบเทียบจากค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เป็นผลกระทบสำคัญต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง หรือสภาวะโลกร้อน) และอาจรวมไปถึงการก่อสร้างที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
คงพอจะเห็นแนวคิดของบ้านประหยัดพลังงานที่พัฒนาขึ้นบ้างนะคะ ดังนั้นท่านใดกำลังคิดจะสร้างบ้านใหม่ อย่าลืมนำแนวคิดบ้านประหยัดพลังงานทั้ง 4 แนวทางไปประยุกต์ใช้กันนับต่อจากนี้นะคะ
ขอบคุณแหล่งที่มาจาก
- http://52011111060g7.blogspot.com
- http://scgheim.com
- http://www.homeadore.com
บ้านประหยัดพลังงาน โดยใช้พลังงานน้อยที่สุดหรือไม่ต้องใช้พลังงานเลย
ถ้าเอ่ยถึงบ้านประหยัดพลังงานแบบนี้ เรามักยกตัวอย่าง “เรือนไทย” ที่ก่อสร้างวางตัวบ้านให้สอดคล้องกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศร้อนชื้นของไทย เช่น หลบแดด รับลม และได้แสงธรรมชาติที่ดีเพียงพอ บ้านจึงมีลักษณะ โปร่ง โล่ง มีการวางเรือนแยกเป็นหลัง แล้วเชื่อมด้วยชานระเบียง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ลมพัดผ่านระบายอากาศร้อนและความชื้นไม่ให้สะสม วัสดุที่ใช้จึงมักเป็นวัสดุธรรมชาติและมีความหนาไม่มาก จึงไม่อมความร้อนไว้ เช่น ไม้ ส่วนหลังคาก็มีชายคายื่นยาวเพื่อป้องกันฝน และแดดไม่ให้ตกกระทบกับผนังหรือส่องผ่านหน้าต่างเข้ามาจนทำให้ภายในบ้านร้อน และด้วยเหตุที่ต้องอาศัยธรรมชาติดังนั้นโดยรอบบ้านจึงต้องมีสภาพแวดล้อมที่ดี เช่นมีต้นไม้ให้ร่มเงา มีแหล่งน้ำเพื่อช่วยลดอากาศร้อนก่อนที่จะเข้ามาในตัวบ้าน ถ้าสภาพแวดล้อมและการออกแบบตัวบ้านดี พลังงาน (ไฟฟ้า) ที่ต้องใช้เพื่อการอยู่อาศัยก็มีการใช้แต่น้อยเท่าที่จำเป็น ภาษาวิชาการเรียกเป็นบ้านแบบ แพสทีฟซิสเต็ม (Passive System)
บ้านประหยัดพลังงาน โดยใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
แต่เมื่อสภาพแวดล้อมบางพื้นที่เปลี่ยนไป เช่น พื้นที่ในเมือง มีแต่ตึกแออัด ไม่มีที่โล่งและต้นไม้มีแต่ถนน การจะเปิดบ้านให้โล่งเพื่อรับลมก็จะเกิดปัญหาเพราะมีแต่ฝุ่นและควันรถ เป็นผลให้จำเป็นต้องปิดหน้าต่างแล้วเปิดแอร์เพื่อปรับอากาศที่ต้องใช้พลังงาน ดังนั้นบ้านจึงต้องออกแบบให้มีการรั่วซึมของอากาศน้อย ใช้วัสดุที่ช่วยป้องกันความร้อนไม่ให้เข้าสู่ภายในบ้าน เช่น ใช้ฉนวนกันความร้อนมาเสริม หรือใช้กระจกที่มีสมบัติป้องกันความร้อนได้ดี เพื่อให้การใช้พลังงาน (ในการปรับอากาศ) มีประสิทธิภาพ แนวทางนี้ภาษาวิชาการเรียกว่าเป็นบ้านแบบ แอคทีฟซิสเต็ม (Active System) อย่างไรก็ตาม บ้านในแนวทางนี้ก็ยังต้องออกแบบวางตัวบ้านให้สอดคล้องกับทิศทางแดดลม เพราะหากบ้านหลังใดออกแบบไม่ดี หันทิศทางไม่ถูกต้อง ปล่อยให้แดดส่องเข้ามาภายในบ้านเกิดเป็นความร้อนสะสมกักเก็บไว้ภายใน ผลก็คือร้อน และยิ่งร้อนมากขึ้นหากติดฉนวนทั้งบ้านโดยที่ไม่ได้รับการออกแบบที่ดี เพราะฉนวนกันความร้อนที่เราหวังจะให้กันความร้อนเข้า ก็จะกลายเป็นตัวกันไม่ให้ความร้อนระบายออก เมื่อเปิดแอร์ก็จะสิ้นเปลืองทั้งพลังงานและค่าไฟ
สองแนวทางแรกนี่เป็นแนวทางพื้นฐานที่ต้องคำนึงถึงและนำไปใช้ในบ้านทุกหลัง บ้านประหยัดพลังงานที่ผ่านมาส่วนใหญ่ก็เป็นการประยุกต์ใช้สองแนวทางข้างต้นผสมผสานกันนั่นเองค่ะ
บ้านผลิตพลังงาน หรือบ้านพลังงานศูนย์ (Zero Energy House)
บ้านแนวคิดนี้ไม่ได้หมายความว่าการอยู่อาศัยในบ้านไม่มีการใช้พลังงานเลย แต่หมายความว่า พลังงานไฟฟ้าที่บ้านผลิตได้กับที่ใช้ไป เมื่อหักลบกันแล้วมีค่าเป็นศูนย์ เพราะเมื่อบ้านได้รับการออกแบบวางตัวบ้านที่ดี ใช้วัสดุที่เหมาะสม พลังงานไฟฟ้าที่ต้องใช้ในบ้านก็น้อยลงจนถึงระดับที่สามารถจะนำเอาเทคโนโลยีมาผลิตไฟฟ้าให้มีปริมาณเพียงพอกับที่ต้องการใช้ภายในบ้าน หัวใจสำคัญของบ้านแนวคิดนี้ยังต้องอาศัยหลักการออกแบบบ้านให้พึ่งพาธรรมชาติเป็นหลักเพื่อให้ใช้พลังงานน้อยที่สุด บริเวณใดที่ต้องใช้พลังงานก็มีการออกแบบเพื่อให้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วจึงนำเทคโนโลยีผลิตพลังงานมาติดตั้งเสริมเข้าไป ปัจจุบันก็คือการใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์มาติดตั้งบนอาคารหลังคาบ้านเพื่อให้ผลิตไฟฟ้า โดยการออกแบบตัวบ้านต้องคำนึงถึงทิศทางของการวางแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อให้ได้รับแสงมากที่สุดโดยไม่ให้มีสิ่งบดบังที่ทำให้เกิดเงาทาบบนแผง หรือมีก็น้อยที่สุด เทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (PV cell) แต่เดิมราคาค่อนข้างสูงและการส่งเสริมจากภาครัฐยังมีน้อยอยู่ แต่นับต่อจากนี้ จะกลายเป็นเรื่องปรกติธรรมดาสำหรับบ้านทุกหลัง
บ้านผลิตพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Ecology House, Bio-Solar House)
เมื่อบ้านถูกออกแบบให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและใช้พลังงานน้อย จนสามารถผลิตไฟฟ้าให้มีเพียงพอสำหรับการใช้ในบ้าน แนวคิดเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมจะถูกเสริมเพิ่มเข้ามาในการออกแบบบ้าน การเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์ในบ้าน หัวใจหลักก็คือ
- การไม่ให้ของเสียภายในบ้านถูกปล่อยทิ้งออกไป เช่น เศษอาหาร น้ำทิ้งและของเสียในห้องน้ำ ฯลฯ แต่นำกลับมาเป็นของดีใช้ภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร หรือนำน้ำเสียกลับมารดน้ำต้นไม้ หรืออาจใช้การหมักของเสียให้เกิดเป็นก๊าซที่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้มภายในบ้านได้
- การใช้วัสดุสร้างบ้านที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยจะมีการประเมินเลือกใช้วัสดุที่ใช้พลังงานในการผลิต พลังงานในการขนส่งน้อยลง (เปรียบเทียบจากค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เป็นผลกระทบสำคัญต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง หรือสภาวะโลกร้อน) และอาจรวมไปถึงการก่อสร้างที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
คงพอจะเห็นแนวคิดของบ้านประหยัดพลังงานที่พัฒนาขึ้นบ้างนะคะ ดังนั้นท่านใดกำลังคิดจะสร้างบ้านใหม่ อย่าลืมนำแนวคิดบ้านประหยัดพลังงานทั้ง 4 แนวทางไปประยุกต์ใช้กันนับต่อจากนี้นะคะ
ขอบคุณแหล่งที่มาจาก
- http://52011111060g7.blogspot.com
- http://scgheim.com
- http://www.homeadore.com
วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2560
การป้องกันตะคริว
ต่อจากบทความที่แล้ว คราวนี้เอาวิธีป้องกันการเป็นตะคริวมาบอกกล่าวกัน ลองเอาไปทำดูนะคะ ได้ผล
อย่างไรมาเล่าให้ฟังบ้างนะคะ ของเราทุกวันนี้ต้องดื่มนมวันละ1-2แก้ว เพื่อเพิ่มแคลเซียมให้ร่างกายบ้าง ส่วนข้อปฏิบัติง่ายๆด้านล่างนี้ก็สามารถทำได้นะ ไม่ยากเกินจ้า
1.ไม่นั่ง นอน หรือเดินเป็นเวลานาน ๆ ในผู้สูงอายุควรค่อย ๆ ขยับแขนขาช้า ๆ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีอากาศเย็นมาก ๆ
2.หลีกเลี่ยงการออกกำลังหรือใช้กล้ามเนื้อมากเกินกำลัง เช่น การยกของหนัก การเล่นกีฬาหนัก ๆ
3.ควรทำการบริหารยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย (Warm up) หรือเมื่อต้องใช้กล้ามเนื้อทำงานหนักทุกครั้ง เช่น การวิ่งเบา ๆ ประมาณ 10 นาที
4.ควรดูแลสุขภาพให้แข็ง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะตะคริวมักเกิดในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอหรือคนที่ขาดการออกกำลังกาย
5.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม (เช่น กล้วย ส้ม), แคลเซียม (เช่น นม ปลาเล็กปลาน้อยที่รับประทานก้างได้), วิตามินอี (เช่น ถั่ว น้ำมันพืช) ส่วนผู้สูงอายุหรือหญิงตั้งครรภ์ที่มักเป็นตะคริวตอนกลางคืน อาจป้องกันได้ด้วยการรับประทานอาหารประเภทปลาและไข่ในมื้อเย็น หรือดื่มนมก่อนเข้านอน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรเป็นอาหารที่เหมาะกับสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วย
6.ป้องกันภาวะขาดน้ำด้วยการดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำ และควรดื่มน้ำให้เพียงพอก่อนการออกกำลังกาย เพื่อให้เพียงพอกับปริมาณน้ำที่ร่างกายเสียไป เช่น จากการเสียเหงื่อมาก ท้องเสีย หรือปัสสาวะมาก
7.ดื่มน้ำผลไม้หรือสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ ก่อนและระหว่างการออกกำลังหรือทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนหรือมีเหงื่อออกมาก
8.สวมใส่รองเท้าในขนาดที่พอเหมาะกับเท้าและที่ไม่รัดเท้า เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดบริเวณขาและเท้าให้มากขึ้น และอาจใส่ถุงเท้าตอนนอนเพื่อป้องกันการเกร็งของเท้า
9.ในขณะนอน ไม่ควรนอนห่มผ้าห่มรัดเท้าแน่น ๆ (การปูเตียงนอนแบบชาวตะวันตก)
ผู้ที่เป็นตะคริวตอนกลางคืน ควรนอนยกขาให้สูงเล็กน้อยประมาณ 10 เซนติเมตร โดยใช้หมอนรอง ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในตอนกลางคืน และก่อนนอนควรบริหารยืดกล้ามเนื้อหรือปั่นจักรยานประมาณ 2-3 นาที หรือกินยาป้องกันตามที่แพทย์แนะนำ
10.รับประทานผักและผลไม้ให้มาก เพราะมีวิตามินและเกลือแร่ที่ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม วิตามินบี วิตามินอี ฯลฯ (การรับประทานผลไม้เป็นประจำ เช่น กล้วย ส้ม จะช่วยป้องกันการขาดโพแทสเซียมได้ ส่วนในรายที่ใช้ยาขับปัสสาวะติดต่อกันเป็นเวลานานควรเสริมด้วยยาโพแทสเซียมคลอไรด์)
11.ควรสังเกตกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดตะคริว แล้วหลีกเลี่ยงเสีย
รักษาหรือควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุด้วย มิฉะนั้นก็จะเกิดตะคริวได้บ่อย ๆ
12.ฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching) ในบริเวณที่มักเป็นตะคริวอยู่บ่อย ๆ อาจช่วยลดโอกาสการเกิดตะคริวได้ เพราะตะคริวมักเกิดกับกล้ามเนื้อน่องและต้นขา ซึ่งสามารถฝึกทำได้โดยปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู แพทย์ออร์โทปิดิกส์ (Orthopaedics) หรือนักกายภาพบำบัด ทั้งนี้การฝึกยืดกล้ามเนื้อควรทำอย่างน้อยวันละ 1-3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 3-5 นาที และในครั้งสุดท้ายของวันควรทำก่อนเข้านอน เพื่อช่วยลดโอกาสเป็นตะคริวในตอนกลางคืน แต่ก่อนทำการยืดกล้ามเนื้อควรทำการอบอุ่นร่างกายทุกครั้งด้วยการเดินเบา ๆ ประมาณ 5 นาที และเมื่ออาการตะคริวห่างหายไปแล้ว ก็สามารถลดการทำเหลือเพียงวันละ 1 ครั้งก่อนเข้านอนก็ได้ แต่ยังควรทำอย่างต่อเนื่องทุกวันตลอดไป อนึ่ง สภาแพทย์ออร์โทปิดิกส์แห่งสหรัฐอเมริกา (The American Academy of Orthopaedic Surgeons – AAOS) ได้แนะนำท่าบริหารยืดกล้ามเนื้อเอาไว้ ดังนี้
การยืดกล้ามเนื้อน่อง ให้ยืนตัวตรง หลังตรง หันหน้าเข้าหากำแพงให้ห่างประมาณ 2-3 ฟุต ฝ่าเท้าทั้งสองข้างตรง ให้เท้าหลังห่างจากเท้าหน้าเล็กน้อย ฝ่าเท้าวางราบกับพื้น ส่วนเท้าหลังต้องชี้ตรงไปยังเท้าหน้าเสมอ งอเข่าเท้าหน้าพอควร ส่วนเท้าหลังเหยียดข้อเข่าให้ตรง มือทั้งสองข้างยกยันกำแพงในลักษณะเอนตัวไปข้างหน้า โดยที่แผ่นหลังยังเหยียดตรงเสมอ และให้ค้างไว้ประมาณ 15-30 วินาที จากนั้นให้ทำสลับข้างกัน (การบริหารท่านี้จะรู้สึกยืดตึงของกล้ามเนื้อน่องลงมาจนถึงส้นเท้า)
การยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ให้ยืนตัวตรง เท้าสองข้างชิดกัน มือข้างหนึ่งจับพนักเก้าอี้ที่แข็งแรง ห่างจากเก้าอี้ประมาณ 1 ฟุต แล้วพับข้อเข่าขึ้น 1 ข้าง และใช้มือข้างเดียวกันจับข้อเท้าด้านที่ยกขึ้นเอาไว้ จากนั้นให้กดส้นเท้าเข้าหาบริเวณก้นจนรู้สึกได้ถึงการเหยียดตัวของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ให้ค้างไว้ประมาณ 30 วินาที แล้วทำสลับข้างกัน
การยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง ให้นั่งกับพื้นหลังตรง ขาและเข่าเหยียดตรงไปข้างหน้า ให้ขาทั้งสองข้างชิดกัน เท้าอยู่ในท่าปกติ ส่วนส้นเท้าชิดกัน และค่อย ๆ ลากฝ่ามือไปตามพื้นด้านข้างของขาทั้งสองข้างจนถึงข้อเท้า โดยที่เข่ายังเหยียดตรงอยู่และอย่าก้มหลัง เมื่อรู้สึกว่ากล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังเหยียดเต็มที่แล้วก็ให้ค้างไว้ในท่านั้นประมาณ 30 วินาที
อย่างไรมาเล่าให้ฟังบ้างนะคะ ของเราทุกวันนี้ต้องดื่มนมวันละ1-2แก้ว เพื่อเพิ่มแคลเซียมให้ร่างกายบ้าง ส่วนข้อปฏิบัติง่ายๆด้านล่างนี้ก็สามารถทำได้นะ ไม่ยากเกินจ้า
1.ไม่นั่ง นอน หรือเดินเป็นเวลานาน ๆ ในผู้สูงอายุควรค่อย ๆ ขยับแขนขาช้า ๆ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีอากาศเย็นมาก ๆ
2.หลีกเลี่ยงการออกกำลังหรือใช้กล้ามเนื้อมากเกินกำลัง เช่น การยกของหนัก การเล่นกีฬาหนัก ๆ
3.ควรทำการบริหารยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย (Warm up) หรือเมื่อต้องใช้กล้ามเนื้อทำงานหนักทุกครั้ง เช่น การวิ่งเบา ๆ ประมาณ 10 นาที
4.ควรดูแลสุขภาพให้แข็ง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะตะคริวมักเกิดในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอหรือคนที่ขาดการออกกำลังกาย
5.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม (เช่น กล้วย ส้ม), แคลเซียม (เช่น นม ปลาเล็กปลาน้อยที่รับประทานก้างได้), วิตามินอี (เช่น ถั่ว น้ำมันพืช) ส่วนผู้สูงอายุหรือหญิงตั้งครรภ์ที่มักเป็นตะคริวตอนกลางคืน อาจป้องกันได้ด้วยการรับประทานอาหารประเภทปลาและไข่ในมื้อเย็น หรือดื่มนมก่อนเข้านอน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรเป็นอาหารที่เหมาะกับสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วย
6.ป้องกันภาวะขาดน้ำด้วยการดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำ และควรดื่มน้ำให้เพียงพอก่อนการออกกำลังกาย เพื่อให้เพียงพอกับปริมาณน้ำที่ร่างกายเสียไป เช่น จากการเสียเหงื่อมาก ท้องเสีย หรือปัสสาวะมาก
7.ดื่มน้ำผลไม้หรือสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ ก่อนและระหว่างการออกกำลังหรือทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนหรือมีเหงื่อออกมาก
8.สวมใส่รองเท้าในขนาดที่พอเหมาะกับเท้าและที่ไม่รัดเท้า เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดบริเวณขาและเท้าให้มากขึ้น และอาจใส่ถุงเท้าตอนนอนเพื่อป้องกันการเกร็งของเท้า
9.ในขณะนอน ไม่ควรนอนห่มผ้าห่มรัดเท้าแน่น ๆ (การปูเตียงนอนแบบชาวตะวันตก)
ผู้ที่เป็นตะคริวตอนกลางคืน ควรนอนยกขาให้สูงเล็กน้อยประมาณ 10 เซนติเมตร โดยใช้หมอนรอง ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในตอนกลางคืน และก่อนนอนควรบริหารยืดกล้ามเนื้อหรือปั่นจักรยานประมาณ 2-3 นาที หรือกินยาป้องกันตามที่แพทย์แนะนำ
10.รับประทานผักและผลไม้ให้มาก เพราะมีวิตามินและเกลือแร่ที่ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม วิตามินบี วิตามินอี ฯลฯ (การรับประทานผลไม้เป็นประจำ เช่น กล้วย ส้ม จะช่วยป้องกันการขาดโพแทสเซียมได้ ส่วนในรายที่ใช้ยาขับปัสสาวะติดต่อกันเป็นเวลานานควรเสริมด้วยยาโพแทสเซียมคลอไรด์)
11.ควรสังเกตกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดตะคริว แล้วหลีกเลี่ยงเสีย
รักษาหรือควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุด้วย มิฉะนั้นก็จะเกิดตะคริวได้บ่อย ๆ
12.ฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching) ในบริเวณที่มักเป็นตะคริวอยู่บ่อย ๆ อาจช่วยลดโอกาสการเกิดตะคริวได้ เพราะตะคริวมักเกิดกับกล้ามเนื้อน่องและต้นขา ซึ่งสามารถฝึกทำได้โดยปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู แพทย์ออร์โทปิดิกส์ (Orthopaedics) หรือนักกายภาพบำบัด ทั้งนี้การฝึกยืดกล้ามเนื้อควรทำอย่างน้อยวันละ 1-3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 3-5 นาที และในครั้งสุดท้ายของวันควรทำก่อนเข้านอน เพื่อช่วยลดโอกาสเป็นตะคริวในตอนกลางคืน แต่ก่อนทำการยืดกล้ามเนื้อควรทำการอบอุ่นร่างกายทุกครั้งด้วยการเดินเบา ๆ ประมาณ 5 นาที และเมื่ออาการตะคริวห่างหายไปแล้ว ก็สามารถลดการทำเหลือเพียงวันละ 1 ครั้งก่อนเข้านอนก็ได้ แต่ยังควรทำอย่างต่อเนื่องทุกวันตลอดไป อนึ่ง สภาแพทย์ออร์โทปิดิกส์แห่งสหรัฐอเมริกา (The American Academy of Orthopaedic Surgeons – AAOS) ได้แนะนำท่าบริหารยืดกล้ามเนื้อเอาไว้ ดังนี้
การยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ให้ยืนตัวตรง เท้าสองข้างชิดกัน มือข้างหนึ่งจับพนักเก้าอี้ที่แข็งแรง ห่างจากเก้าอี้ประมาณ 1 ฟุต แล้วพับข้อเข่าขึ้น 1 ข้าง และใช้มือข้างเดียวกันจับข้อเท้าด้านที่ยกขึ้นเอาไว้ จากนั้นให้กดส้นเท้าเข้าหาบริเวณก้นจนรู้สึกได้ถึงการเหยียดตัวของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ให้ค้างไว้ประมาณ 30 วินาที แล้วทำสลับข้างกัน
การยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง ให้นั่งกับพื้นหลังตรง ขาและเข่าเหยียดตรงไปข้างหน้า ให้ขาทั้งสองข้างชิดกัน เท้าอยู่ในท่าปกติ ส่วนส้นเท้าชิดกัน และค่อย ๆ ลากฝ่ามือไปตามพื้นด้านข้างของขาทั้งสองข้างจนถึงข้อเท้า โดยที่เข่ายังเหยียดตรงอยู่และอย่าก้มหลัง เมื่อรู้สึกว่ากล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังเหยียดเต็มที่แล้วก็ให้ค้างไว้ในท่านั้นประมาณ 30 วินาที
ภาพประกอบ : supertastyrecipes.com, www.garmaonhealth.com, acupuncture.co.in, www.healthcumfitness.com, www.wikihow.com
ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)
เอาความรู้เรื่อง...ตะคริว มาฝาก
ช่วงนี้แปลก อาการตะคริวกินน่องมาเยือนอีกแล้ว จำได้ว่าเคยมีอาการปวดและรู้จักคำว่าตะคริวก็ตอนตั้งท้องลูกคนเล็กนี่เอง นานๆมีอาการที ไม่บ่อย มักเป็นช่วงนอนตอนกลางคืน ลุกขึ้นมาบีบๆนวดๆ ก็หาย แต่ตอนมีอาการ จำได้ว่ามันปวดมาก ครั้งนี้มาแบบไม่ปวดเกร็ง แต่คลำที่น่องจะเจอก้อน คล้ายกล้ามเนื้อน่อง มีอาการบวม แข็งเป็นลูกกลม กดเจ็บ บีบนวดเบาๆมันก็คลายตัวนิ่มลงบ้าง วันนี้เลยต้องไปเสาะหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเอามาใช้ในการดูแลตัวเอง อาจจะยาวไปหน่อยแต่ก็ละเอียดดีนะ
ตะคริว (Muscle cramps) หมายถึง อาการเกร็งตัวหรือหดเกร็งที่ทำให้มีอาการปวดและเป็นก้อนแข็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยที่เราไม่สามารถบังคับได้ ร่วมกับมีอาการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อมัดที่เกิดการหดเกร็ง แต่จะเป็นอยู่เพียงชั่วขณะแล้วอาการจะทุเลาลงไปเอง ตะคริวอาจเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อส่วนใดของร่างกายก็ได้ อาจเกิดกับกล้ามเนื้อเพียงมัดเดียวหรือหลาย ๆ มัดพร้อมกันก็ได้ โดยมักเกิดขึ้นในขณะออกกำลังกาย ขณะเดิน หรือในขณะนั่งพักหรือนอนพักเป็นเวลานาน ๆ
ตะคริวเกิดได้กับกล้ามเนื้อลายทุกมัด (Striated muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อส่วนใหญ่ของร่างกายที่เราพบได้โดยทั่วไปใต้ผิวหนัง แต่กล้ามเนื้อที่เกิดตะคริวได้บ่อยที่สุดก็คือ “กล้ามเนื้อน่อง” รองลงมาคือ กล้ามเนื้อต้นขาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง กล้ามเนื้อเท้า และกล้ามเนื้อหลัง โดยโอกาสในการเกิดที่ขานั้นมีเท่ากันทั้งข้างซ้ายและข้างขวา
ตะคริว (Muscle cramps) หมายถึง อาการเกร็งตัวหรือหดเกร็งที่ทำให้มีอาการปวดและเป็นก้อนแข็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยที่เราไม่สามารถบังคับได้ ร่วมกับมีอาการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อมัดที่เกิดการหดเกร็ง แต่จะเป็นอยู่เพียงชั่วขณะแล้วอาการจะทุเลาลงไปเอง ตะคริวอาจเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อส่วนใดของร่างกายก็ได้ อาจเกิดกับกล้ามเนื้อเพียงมัดเดียวหรือหลาย ๆ มัดพร้อมกันก็ได้ โดยมักเกิดขึ้นในขณะออกกำลังกาย ขณะเดิน หรือในขณะนั่งพักหรือนอนพักเป็นเวลานาน ๆ
ตะคริวเกิดได้กับกล้ามเนื้อลายทุกมัด (Striated muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อส่วนใหญ่ของร่างกายที่เราพบได้โดยทั่วไปใต้ผิวหนัง แต่กล้ามเนื้อที่เกิดตะคริวได้บ่อยที่สุดก็คือ “กล้ามเนื้อน่อง” รองลงมาคือ กล้ามเนื้อต้นขาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง กล้ามเนื้อเท้า และกล้ามเนื้อหลัง โดยโอกาสในการเกิดที่ขานั้นมีเท่ากันทั้งข้างซ้ายและข้างขวา
วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ความสดชื่นรอบบ้านเรา
เช้านี้ตื่นมาพร้อมความสดชื่น สดใส เหมือนต้นไม้ได้รับน้ำฝนเลยค่ะ เมื่อคืนฝนตกลงมาน้อยนิดแต่ก็ช่วยให้บรรยากาศรอบบ้านมีความชื้นบ้าง ไม่ร้อนจนเกินไป เดินชมสวนรอบๆบ้าน ฉีดพ่นน้ำให้เจ้าต้นไม้กระจิ๊ดริดซะหน่อย เก็บกวาดใบไม้หน้าบ้าน เอาเป็นว่าได้ออกกำลังกายบ้างในทุกเช้า แต่วันนี้น้อยกว่าหน่อยนึงเพราะไม่ต้องเดินรดน้ำให้ต้นไม้ใหญ่ ฝนช่วยแบ่งเบาค่าน้ำไปได้บ้าง อิอิอิ งั้นดูทีวีไปคงต้องยกขายกแข้งไปบ้างล่ะ อ้าวก็ออกกำลังในร่มก็ได้ซิ...วันนี้ไม่รีบร้อนไปไหน นอนเล่นอยู่แต่บ้านก็เลยขยันอัฟรูปสวนรอบบ้านมาให้ชมกันนะคะ อย่าเพิ่งเบื่อล่ะ ไม่มีสาระแต่ชมภาพสวยๆไปพรางๆก่อนน๊า
ฝากสวนสวยๆ และส่งความสดชื่นมาให้ก่อนนะ แต่อันนี้ต้องขอขอบคุณภาพจากกูเกิ้ล ที่กรุณาให้ภาพสวยๆ สีสันสดใสมาให้ชมค่ะ
ฝากสวนสวยๆ และส่งความสดชื่นมาให้ก่อนนะ แต่อันนี้ต้องขอขอบคุณภาพจากกูเกิ้ล ที่กรุณาให้ภาพสวยๆ สีสันสดใสมาให้ชมค่ะ
คุณนายตื่นสาย แพรเซี่ยงไฮ้ ปลูกคลุมดินโคนต้นจันผา บนิเวณหน้าบ้านค่ะ ยามสายคุณเธอจะบาน ส่งความสดชื่นให้เราได้ยล มองแล้วชีวิตมีสีสันค่ะ
ดอกประยงค์บริเวณด้านหลังบ้าน กำลังออกดอก เต็มต้นเลยค่ะ จัดวางคุณประยงค์ด้านทิศใต้เพื่อจะได้ให้ลมช่วยพัดพากลิ่นหอมๆมาให้เราได้ดมดอม
สวนข้างบ้านเรา ตรงนี้มองจากมุมพักผ่อนในบ้านและมองจากศาลาพักผ่อน ก็จะเห็นต้นพุดพิชญาดอกใหญ่มาก สีขาวสะอาดตา มองแล้วเป็นมุมหนึ่งที่เราชอบมากๆ มุมนี้เราจัดสวนเองด้วยนะ อุตส่าห์ไปเดินหาพุดพิชญาพันธ์ดอกใหญ่มา ได้มา 6 ต้น เลี้ยงจนโตสูงพ้นกำแพงบ้านแล้วล่ะ ตอนนี้เลยต้องจำกัดความสูงของเค้าโดยเด็ดใบอ่อนบนยอดทิ้ง ขอหยุดความสูงแต่ให้เพิ่มความหนาแน่นด้านล่างแทนแล้วกันนะ
มาให้ชมแล้วจ้า เหลืองจันทบูรณ์ ต้นนี้นำมาเกาะต้นกันเกราได้ครบปี คุณเธอก็มอบความสดชื่น สดใสด้วยสีเหลืองละออตาแก่เรา ตอนแรกนึกว่าจะไม่รอดซะอีก ปีหน้าคงออกช่อดอกมากกว่านี้เป็นแน่แท้...รอดูกันไปนะคะ
กอนี้ หวายค่ะ ซื้อมาแล้วนำมาเกาะตอไม้เก่า ลองดูอีกไม่นาน รากคงเกาะ ดอกเค้าสีชมพูหวานเชียว
กระเช้านี้ก็หวายค่ะ ได้มา 2 กระเช้าใหญ่ ตอนช่วงทำบุญขึ้นบ้านใหม่ค่ะ ดอกใหญ่มาก สีขาวออกชมพู แนวหวานๆ ใสๆ ดอกดกมาก เวลาออกช่อดอก จะออกพร้อมๆกันจนเรา กลัวว่ากิ่งของช่อดอกจะรับน้ำหนักไม่ไหว อิอิอิ
สวนน้อยๆรอบบ่อปลาจ้า สวนนี้เราจัดเอง หาต้นไม้มาลงเอง ค่อยๆทำไป ยามว่างช่วงบ่ายๆบริเวณนี้จะร่มรื่น เย็นสบาย เป็นจุดรับลม ชมวิวของบ้านเราเลยนะ บริเวณขอบบ่อปลาวางต้นสัปรดสี ซึ่งเดิมมีอยู่แค่ 2 ต้นเอง ตอนนี้แตกหน่อออกมาเพิ่มให้เราอีกหลายต้นเลยล่ะ ถัดไปก็มีต้นเตยหอม เตยด่าง ฤาษีผสม เศรษฐีเรือนนอก ยี่โถแคระ กนกนารีและเฟิร์น นำมาจัดสวนรวมกันเป็นอีกมุมหนึ่ง
ส่วนอีกมุมหนึ่งของบ่อปลาก็ลงเฟิร์นกอใหญ่ ปริกหางกระรอก เล็บครุฑด่าง และแถวยาวเลยล้อมรอบบ่อ ลงต้นพุดศุภโชค ดอกเล็กๆขาวๆสวยงามน่ารัก และสุดท้ายมองไปที่เห็นก็คือเฟิร์นข้าหลวงนั่นเอง
เอาล่ะวันนี้พอแค่นี้ก่อนนะคะ สวนอีกด้านของบ้าน ยังไม่กล่าวถึงเลย แต่ชักไม่ไหวล่ะ แบตจะหมด ขอบายก่อนนะคะ เจอกันครั้งหน้าแล้วกันจ้า
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
การไหว้แม่ย่านางรถ
อย่างที่รู้กันว่าความเชื่อของคนไทยเมื่อไรที่ออกรถมาใหม่ไม่ว่าจะเป็นมือหนึ่งหรือรถมือสองก็จะเคารพนับถือและบูชาแม่ย่านางรถซึ่งเป็นสิ่งศ...
บทความน่าสนใจ
-
ต้นประยงค์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็...
-
ต้อยติ่ง ชื่อสามัญ Waterkanon, Watrakanu, Minnieroot, Iron root, Feverroot, Popping pod, Cracker plant, Trai-no, Toi ting จัดอยู่ในวงศ์เหงือ...
-
บางท่านเรียก “พุดศรีลังกา” เป็นไม้พุ่มเตี้ย สูงไม่เกิน 1.5-2 ฟุต แตกกิ่งก้านต่ำ หนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่บริเวณปลายกิ่ง ใบเ...
-
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้คนไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2517 ดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปร...
-
วันนี้ขอพูดถึงเรื่องสุขภาพกันบ้าง หลังย้ายเข้าบ้านใหม่ 16 มกราคม 2559 ชีวิตแต่ละวันก็หมดไปแบบชิลล์ๆ เช้าส่งลูกไปโรงเรียน เสร็จแล้วก...