วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

จารึกในความทรงจำมิรู้ลืม



ผ่านเดือนแห่งการน้อมอาลัยพ่อหลวง # น้อมเสด็จสู่สวรรคาลัย มาแบบไม่ทันตั้งตัว แต่ก็เตรียมใจเอาไว้บ้างแล้ว หนึ่งปีสำหรับการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของปวงชนชาวไทยในทั่วหล้า บอกได้คำเดียวว่าอยากให้เป็นเพียงแค่ฝัน ว่ามั้ยคะ????  เมื่อตะวันลับลาฟ้าก็หมองมืดหม่น หัวใจของชาวไทยทั้งประเทศแตกสลายลงเมื่อได้ทราบถึงการสวรรคตของพ่อหลวง  เราทุกคนจดจำไม่มีวันลืมกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นมากมายหลังวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ความเศร้าเสียใจกระจายไปทั่วทุกหนแห่งและอีกเหตุการณ์ในวันที่ 26 ตุลาคม 2560 ที่จะต้องจารึกเป็นประวัติศาสตร์ชาติไทย นั่นก็คือชาวไทยร่วมใจกันเข้าพิธีถวายดอกไม้จันทน์ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพ่อหลวงเป็นจำนวนมาก ก่อนถึงวันพระราชพิธีถวายดอกไม้จันทน์ ได้จัดให้มีการสร้างพระเมรุมาศขึ้นที่สนามหลวง



วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จะมีพิธีบวงสรวงพระเมรุมาศและบูรณปฏิสังขรณ์พระราชรถและพระยานมาศงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชโดยจะมีพลเอกธนะศักดิ์ปฏิมาประกรรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีนี้ ส่วนในพิธียกเสาเอก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานพิธียกฉัตรจะเชิญเสด็จสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นประธาน และมีพิธีตอกหมุดจุดกึ่งกลางพระเมรุมาศในเดือนธันวาคม ณ ท้องสนามหลวง

ในการดำเนินงานการสร้างพระเมรุมาศ กรมศิลปากรได้ออกแบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยการจัดสร้างพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ การออกแบบพระเมรุมาศและอาคารประกอบในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ยึดหลักแนวคิดในการออกแบบคือ

1.ออกแบบและจัดสร้างพระเมรุมาศอย่างสมพระเกียรติเพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

2.ศึกษาและออกแบบตามหลักโบราณราชประเพณีการสร้างพระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

3.ศึกษาและออกแบบโดยใช้แนวคิดคติไตรภูมิตามคัมภีร์พุทธศาสนาและคติความเชื่อเรื่องพระมหากษัตริย์ในสถานะเสมือนสมมติเทพตามระบอบเทวนิยม











ตามคติความเชื่อพระเมรุมาศเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศสำหรับการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์ ถือเป็นสิ่งแสดงพระเกียรติยศในวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ สร้าง ณ ท้องสนามหลวง เพื่ออัญเชิญพระบรมศพจากพระบรมมหาราชวัง ด้วยกระบวนพระราชอิสริยยศออกไปประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงบนอาคารพระเมรุมาศ

การจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงสร้างพระเมรุมาศ เป็นราชประเพณีที่แฝงคติความเชื่อแบบพราหมณ์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมุติเทพซึ่งสถิตบนเขาพระสุเมรุ อันล้อมรอบด้วยเขาสัตบริภัณฑ์ และเมื่อจุติลงมายังมนุษย์โลกเป็นสมมุติเทพ เมื่อสวรรคตจึงตั้งพระบรมศพบนพระเมรุมาศ หรือพระเมรุ เพื่อเป็นการส่งพระศพ พระวิญญาณกลับสู่เขาพระสุเมรุดังเดิม

ความเชื่อเรื่องเขาพระสุเมรุปรากฏในไตรภูมิเป็นเรื่องของภูมิจักรวาลมีลักษณะเป็นที่อยู่ของเทวดาตีนเขาเป็นป่าหิมพานต์จากความคิดนี้จึงได้จำลองพระเมรุมาศเป็นเสมือนเขาพระสุเมรุและสัตบริภัณฑ์เพื่อส่งเสด็จสู่ทิพยวิมานโดยสถานที่ประกอบพิธีเดิมนั้นมักเรียกกันว่า ทุ่งพระเมรุ ซึ่งปัจจุบัน คือท้องสนามหลวง

ต่อไปขอนำภาพในความทรงจำ ในวันงานมาเก็บรวบรวมไว้ในบทความนี้ ขอบคุณเจ้าของภาพทั้งหลายที่นำมาเผยแพร่และแบ่งปันให้แก่เพื่อนๆนะคะ


































ขอขอบคุณข้อมูลจากข่าวสด เจ้าของภาพและวิดีโอจากยูทูปค่ะ












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การไหว้แม่ย่านางรถ

อย่างที่รู้กันว่าความเชื่อของคนไทยเมื่อไรที่ออกรถมาใหม่ไม่ว่าจะเป็นมือหนึ่งหรือรถมือสองก็จะเคารพนับถือและบูชาแม่ย่านางรถซึ่งเป็นสิ่งศ...

บทความน่าสนใจ