วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

จารึกในความทรงจำมิรู้ลืม



ผ่านเดือนแห่งการน้อมอาลัยพ่อหลวง # น้อมเสด็จสู่สวรรคาลัย มาแบบไม่ทันตั้งตัว แต่ก็เตรียมใจเอาไว้บ้างแล้ว หนึ่งปีสำหรับการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของปวงชนชาวไทยในทั่วหล้า บอกได้คำเดียวว่าอยากให้เป็นเพียงแค่ฝัน ว่ามั้ยคะ????  เมื่อตะวันลับลาฟ้าก็หมองมืดหม่น หัวใจของชาวไทยทั้งประเทศแตกสลายลงเมื่อได้ทราบถึงการสวรรคตของพ่อหลวง  เราทุกคนจดจำไม่มีวันลืมกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นมากมายหลังวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ความเศร้าเสียใจกระจายไปทั่วทุกหนแห่งและอีกเหตุการณ์ในวันที่ 26 ตุลาคม 2560 ที่จะต้องจารึกเป็นประวัติศาสตร์ชาติไทย นั่นก็คือชาวไทยร่วมใจกันเข้าพิธีถวายดอกไม้จันทน์ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพ่อหลวงเป็นจำนวนมาก ก่อนถึงวันพระราชพิธีถวายดอกไม้จันทน์ ได้จัดให้มีการสร้างพระเมรุมาศขึ้นที่สนามหลวง



วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จะมีพิธีบวงสรวงพระเมรุมาศและบูรณปฏิสังขรณ์พระราชรถและพระยานมาศงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชโดยจะมีพลเอกธนะศักดิ์ปฏิมาประกรรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีนี้ ส่วนในพิธียกเสาเอก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานพิธียกฉัตรจะเชิญเสด็จสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นประธาน และมีพิธีตอกหมุดจุดกึ่งกลางพระเมรุมาศในเดือนธันวาคม ณ ท้องสนามหลวง

ในการดำเนินงานการสร้างพระเมรุมาศ กรมศิลปากรได้ออกแบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยการจัดสร้างพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ การออกแบบพระเมรุมาศและอาคารประกอบในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ยึดหลักแนวคิดในการออกแบบคือ

1.ออกแบบและจัดสร้างพระเมรุมาศอย่างสมพระเกียรติเพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

2.ศึกษาและออกแบบตามหลักโบราณราชประเพณีการสร้างพระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

3.ศึกษาและออกแบบโดยใช้แนวคิดคติไตรภูมิตามคัมภีร์พุทธศาสนาและคติความเชื่อเรื่องพระมหากษัตริย์ในสถานะเสมือนสมมติเทพตามระบอบเทวนิยม











ตามคติความเชื่อพระเมรุมาศเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศสำหรับการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์ ถือเป็นสิ่งแสดงพระเกียรติยศในวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ สร้าง ณ ท้องสนามหลวง เพื่ออัญเชิญพระบรมศพจากพระบรมมหาราชวัง ด้วยกระบวนพระราชอิสริยยศออกไปประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงบนอาคารพระเมรุมาศ

การจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงสร้างพระเมรุมาศ เป็นราชประเพณีที่แฝงคติความเชื่อแบบพราหมณ์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมุติเทพซึ่งสถิตบนเขาพระสุเมรุ อันล้อมรอบด้วยเขาสัตบริภัณฑ์ และเมื่อจุติลงมายังมนุษย์โลกเป็นสมมุติเทพ เมื่อสวรรคตจึงตั้งพระบรมศพบนพระเมรุมาศ หรือพระเมรุ เพื่อเป็นการส่งพระศพ พระวิญญาณกลับสู่เขาพระสุเมรุดังเดิม

ความเชื่อเรื่องเขาพระสุเมรุปรากฏในไตรภูมิเป็นเรื่องของภูมิจักรวาลมีลักษณะเป็นที่อยู่ของเทวดาตีนเขาเป็นป่าหิมพานต์จากความคิดนี้จึงได้จำลองพระเมรุมาศเป็นเสมือนเขาพระสุเมรุและสัตบริภัณฑ์เพื่อส่งเสด็จสู่ทิพยวิมานโดยสถานที่ประกอบพิธีเดิมนั้นมักเรียกกันว่า ทุ่งพระเมรุ ซึ่งปัจจุบัน คือท้องสนามหลวง

ต่อไปขอนำภาพในความทรงจำ ในวันงานมาเก็บรวบรวมไว้ในบทความนี้ ขอบคุณเจ้าของภาพทั้งหลายที่นำมาเผยแพร่และแบ่งปันให้แก่เพื่อนๆนะคะ


































ขอขอบคุณข้อมูลจากข่าวสด เจ้าของภาพและวิดีโอจากยูทูปค่ะ












วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ภาพพ่อที่ฉันรัก

สมัยก่อนผู้เถ้าผู้แก่มักจะบอกและสอนให้ลูกๆหลานๆกราบรูปของ “ในหลวง”ทุกวัน"รูปที่มีทุกบ้าน"
ท่านจะะบอกเสมอว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ ๙ ท่านเป็นเทวดาที่มีลมหายใจ…ที่ประชาชนคนไทยได้พอมีกินอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะว่าพระองค์ท่าน ดูแลคนไทยมานานเหลือเกิน...จากภาพพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่ผ่านมา ทำให้เราได้เห็นพระองค์ผู้ซึ่งไม่เคยหยุดพัก ผู้ซึ่งไม่เคยถือพระองค์ ไม่เคยแบ่งชั้นวรรณะ ภาพต่างๆ ที่หลายคนได้มีโอกาสเห็น  หากกลับมาย้อนดูอีกตอนนี้ คงมีทั้งรอยยิ้มและน้ำตา ซึ่งเป็นน้ำตาแห่งความสุขและความเสียใจ







ภาพที่เราได้นำมา เป็นแค่เพียงบางส่วนเท่านั้น และเชื่อว่าคนไทยทุกคน“รักในหลวง”เพราะพระองค์คือ“พ่อของแผ่นดิน”ของคนไทยทั้งชาติ ซึ่งคำว่า ” รักในหลวง” แม้ดูจะกลายเป็นคำพูดที่ติดปากกันไปแล้ว จนกระทั่ง ณ เพลานี้ก็ตาม…แต่เชื่อว่ามันยังคงเป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนอยากจะพูดคำนี้ตลอดไป

 ภาพทุกภาพที่นำมา สื่อความหมายโดยไม่ต้องการคำบรรยาย และเป็นส่วนหนึ่งของภาพที่เราชอบมากๆ เลยขออนุญาตเก็บบันทึกไว้ในบล็อกส่วนตัว สุดท้ายก็ต้องขอขอบคุณเจ้าของภาพถ่ายเป็นอย่างสูงที่นำมาเผยแพร่ให้เราได้มีโอกาสชื่นชมด้วยค่ะ











ขอขอบคุณข้อมูลจาก : บทความดีดีดอทคอม
ขอร่วมน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

ขขออบคุณข้อมูลและภาพบางส่วนจาก ผู้หญิงอยากรู้, โอเคเนชั่น, และภาพที่เพื่อนๆ ส่งต่อกันมาตามสื่อโซเชียล, ขอบคุณเจ้าของไฟล์โลโก้สวยๆ

วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560

น้อมอาลัย...ธ เสด็จสู่สวรรค์ ณ ชั้นฟ้า


               วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ เป็นวันที่ประชาชนคนไทยต่างมีความรู้สึกโศกเศร้าอาลัยกันถ้วนหน้า เมื่อสำนักพระราชวังออกแถลงการณ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จสวรรคตเมื่อเวลา ๑๕.๕๒ น. นับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่คนไทยมิอาจลืมเลือน เพราะนอกจากพระองค์จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจคนไทยทั้งชาติแล้ว พระองค์ยังทรงเป็น"พ่อของแผ่นดิน" อันเป็นที่รักยิ่งของลูกหลานไทยทุกคน   โดยการนี้จึงขอย้อนรำลึกเหตุการณ์"ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จสู่สวรรคาลัย" ตั้งแต่วันที่ ๑๒ ถึง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ มา ณ ที่นี้


สำนักพระราชวังได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ ๓๘ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๙ เรื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ มาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช พสกนิกรชาวไทยจากทั่วทุกสารทิศพร้อมใจแต่งกายสวมเสื้อสีชมพูและสีเหลือง เดินทางมาที่บริเวณศาลาศิริราช ๑๐๐ ปี ร่วมกันสวดมนต์โพชฌังคปริตร เพื่อถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์ และต่างพร้อมใจกันเปล่งเสียง "ทรงพระเจริญ" จนดังกึกก้อง

                                  วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม  ๒๕๕๙

๐๗.๐๐ น. เสียงสวดมนต์ดังกระหึ่มโรงพยาบาลศิริราช

บรรยากาศที่ศาลาศิริราช ๑๐๐ ปี โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่ช่วงเช้า พสกนิกรไทยพร้อมใจกันมาสักการะสวดมนต์ ตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อถวายพระพรชัยมงคลขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว พสกนิกรบางส่วนยังได้บูชาพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และนั่งสวดมนต์อย่างสงบ ด้วยการหันหน้าไปยังตึกที่ประทับ ขณะเดียวกัน ภายในโรงพยาบาลศิริราชยังได้เปิดเพลงเกี่ยวกับพ่อ ขับร้องโดย เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ ศิลปินนักร้องชื่อดังอีกด้วย

๑๔.๒๐ น. บรรยากาศรอบตัวเริ่มเงียบงัน

วันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เที่ยวตามรอยพ่อ

       

          เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะไม่เคยได้ยินชื่อ “ดอยอ่างขาง” สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่ากว่าพื้นที่บริเวณนี้จะกลายมาเป็นภูเขาเขียวขจีที่ปกคลุมไปด้วยผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีเส้นสายที่เป็นเหมือนลวดลายบนภูเขาที่เกิดจากการทำการเกษตรของชาวบ้าน โดยที่แต่งแต้มด้วยสีสันจากดอกไม้และใบไม้ที่ผลัดใบเปลี่ยนสีไปในบางฤดูกาลเช่นนี้ ในอดีตเคยเป็นสถานที่ที่ใช้ปลูกพืชเสพติด และมีการบุกรุกพื้นที่ป่ามาก่อน จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเข้ามาให้ความช่วยเหลือ และเปลี่ยนแปลงทุกอย่างให้ดีขึ้น
          
        สำหรับคนที่ยังไม่เคยไป และกำลังตัดสินใจว่าจะไปเที่ยวที่แห่งนี้ดีหรือไม่ วันนี้จะพาไปทำความรู้จักกับ “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง” กันก่อน ไม่แน่ว่าเมื่ออ่านจบแล้ว คุณอาจจะอยากเก็บกระเป๋า แล้วเดินทางไปยังที่แห่งนี้ทันทีเลยก็ได้

          จากการพัฒนาอาชีพสู่การกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่ใคร ๆ ก็อยากไปสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวหลาย ๆ คนเรียกกันจนติดปากว่า “ดอยอ่างขาง” มีจุดกำเนิดมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริให้จัดตั้งสถานีเกษตรหลวงอ่างขางขึ้น เพื่อใช้เป็นที่วิจัย และทดลองปลูกพืชเมืองหนาวที่เหมาะกับประเทศไทย จนสามารถแจกจ่ายพันธุ์พืชเขตหนาวให้กับชาวไทยภูเขาเอาไปปลูกแทนฝิ่นได้ในที่สุด

          ซึ่งทุกวันนี้ไม่เพียงแค่ชาวไทยภูเขามีอาชีพที่มั่นคงและถูกกฎหมายเท่านั้น แต่ความงดงามของดอยอ่างขางยังทำให้ที่แห่งนี้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ใครหลายคนนึกถึงเวลาได้ไปเที่ยวเชียงใหม่อีกด้วย เรียกได้ว่านอกจากจะทำให้ชาวไทยภูเขาในบริเวณนี้มีรายได้ที่มั่นคงแล้ว ยังทำให้พวกเขาและนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนไปเที่ยวชมที่แห่งนี้ได้พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์และวัฒนธรรมกันอีกด้วย         

 ดอยอ่างขาง ฤดูไหนก็เที่ยวได้



        คนมักจะพูดกันว่าเที่ยวดอยก็ต้องเที่ยวหน้าหนาว จะได้เห็นวิวสวย ๆ กับอากาศเย็น ๆ ก็อาจจะจริง แต่ก็ไม่ทั้งหมดเสียทีเดียว อย่างที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขางก็เป็นอีกหนึ่งที่ที่สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี

        หากมาเที่ยวฤดูร้อนก็ไม่ต้องกลัวร้อน เพราะความสูงของดอยและต้นไม้ที่อุดมสมบูรณ์จะทำให้สัมผัสกับลมเย็น ๆ ที่พัดเบา ๆ อยู่แทบทั้งวัน หรือในช่วงฤดูฝน กลิ่นไอดิน หยดน้ำที่เกาะอยู่ตามใบไม้ หรือละอองฝนจาง ๆ ก็จะทำให้เรารู้สึกสดชื่นได้อย่างไม่น่าเชื่อ ในขณะที่ฤดูหนาวไม่เพียงแค่อากาศหนาวที่หาโอกาสเจอได้ยากในประเทศไทยแล้ว ทะเลหมอกที่ขาวโพลนและดูหนานุ่มราวกับปุยนุ่น ก็จะทำให้คนที่ได้ไปเที่ยวยากที่จะลืมลง

         นอกจากธรรมชาติที่สวยงามแตกต่างกันในแต่ละฤดูแล้ว อีกสิ่งที่นักท่องเที่ยวจะได้เห็นในช่วงเวลาที่แตกต่างกันก็คือพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่ผลิดอกออกผลแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา ถ้าอยากจะเห็นกุหลาบอังกฤษสวย ๆ หรือใบชาที่แตกยอดเต็มแปลงปลูกก็ต้องมาช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ถ้าอยากลิ้มรสสตรอเบอร์รีลูกโตหวานฉ่ำ ก็ต้องมาช่วงปลายปีถึงต้นปี หรือถ้าอยากได้ลูกพลับอร่อย ๆ ก็ต้องไม่พลาดที่จะมาเที่ยวตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมจนถึงเดือนกันยายน ไม่ว่าจะมาฤดูไหน เดือนใด ดอยอ่างขางก็จะไม่ทำให้นักท่องเที่ยวผิดหวังแน่นอน

        เพลิดเพลินไปกับพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความรู้และความสวยงาม ในสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
ภายในสถานีเกษตรหลวงอ่างขางนั้นเต็มไปด้วยจุดที่น่าสนใจมากมายที่นักท่องเที่ยวจะได้ทั้งความรู้ ความทรงจำ และภาพสวย ๆ กลับไป ไม่ว่าจะเป็นโรงเรือนกุหลาบตัดดอกที่มีดอกกุหลาบหลากสีหลายสายพันธุ์ สวนบอนไซ สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา หรือสวน 80 ที่เต็มไปด้วยไม้เมืองหนาวหลากหลายชนิดที่แข่งกันชูช่อผลิดอกให้นักท่องเที่ยวได้ชมตลอดทั้งปี สวนคำดอยที่รวบรวมไม้ดอกตระกูล Rhododendron หรือกุหลาบพันปีไว้มากมาย สวนหอมที่ถ้าได้เข้าไปเดินชมก็จะได้กลิ่นหอมจากดอกไม้นานาพันธุ์ สวนบ๊วย แปลงผักและผลไม้เมืองหนาวต่าง ๆ ที่พลาดไม่ได้เลยสำหรับคนที่ได้ไปเที่ยวช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม คือการเข้าไปชมดอกซากุระพันธุ์แท้ที่นำสายพันธุ์มาจากญี่ปุ่นและไต้หวันที่จะบานสะพรั่งอวดความสวยงามให้กับนักท่องเที่ยวได้ชม

 ข้อมูลสถานที่


ที่ตั้ง: ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

ช่วงเวลาท่องเที่ยว: สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี โดยช่วง High Season จะเป็นช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์

ขอบคุณข้อมูลจาก
JobThai.com

วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เดินตามรอยพ่อ...มีอย่างเพียงพอ สุขอย่างพอเพียง



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้คนไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2517 ดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ความว่า

"…การพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อพื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยประเทศหลายประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอยู่ในเวลานี้..."

"เศรษฐกิจพอเพียง" ไม่จำเป็นต้องต่อต้านกระแสโลกาภิวัตน์หรือสิ่งทันสมัยต่างๆ ทุกคนในสังคมสามารถนำไปใช้ได้ แต่มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการใช้จ่ายอย่างขี้เหนียว การห้ามเป็นหนี้ การยอมรับสภาพ หรือการไม่ขวนขวายทำสิ่งใด ความหมายที่ลึกซึ้งของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การคำนึงถึงความพอประมาณ คือ ให้ทำอะไรด้วยความพอดี ไม่มาก หรือน้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ดำเนินชีวิตให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง เปรียบเสมือนการสร้างเสาเข็ม สร้างฐานให้แข็งแรงมั่นคง ไม่ว่าพายุใดๆ เข้ามา หรือจะต่อเติมสร้างเพิ่มในภายหลัง บ้านก็จะยังคงยืนหยัดอยู่ได้

ชีวิตไม่ต้องมีมากจนเกินตัว เดินตามรอยพ่อ แค่มีอย่างพอเพียง ก็จะสุขอย่างเพียงพอ


วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560

คำพ่อสอน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ทรงมีพระปรีชาสามารถในหลากหลายด้าน ทรงเป็นแบบอย่างของกษัตริย์ผู้ปกครองประชาชนด้วยทศพิธราชธรรม และมักจะทรงเป็นห่วงเป็นใยปวงชนของพระองค์เสมอมา หลายครั้งทรงมีพระราชดำรัสหรือพระบรมราโชวาทให้กับเหล่าข้าราชบริพารและประชาชนที่มาเข้าเฝ้าฯ พระองค์ เป็นเหมือนกับข้อคิด คำสอน ที่พ่อได้ให้กับลูก ทรงแนะนำแนวทางอันเป็นประโยชน์กับอาณาประชาราษฎร์เหนือที่จะกล่าวถึงได้หมด

          ในโอกาสนี้ ขอน้อมนำพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท รวมทั้งพระราชปรารภที่ทรงให้ไว้ในโอกาสต่าง ๆ มาให้ผู้อ่านได้ซึมซาบในน้ำพระราชหฤทัยของพระองค์ท่านกันทุกคน















ขอบคุณข้อมูลและภาพจากกระปุกดอทคอม

การไหว้แม่ย่านางรถ

อย่างที่รู้กันว่าความเชื่อของคนไทยเมื่อไรที่ออกรถมาใหม่ไม่ว่าจะเป็นมือหนึ่งหรือรถมือสองก็จะเคารพนับถือและบูชาแม่ย่านางรถซึ่งเป็นสิ่งศ...

บทความน่าสนใจ